แบตเตอรี่ลิเธียม ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่
หากเราลองสังเกต เดี๋ยวของใช้ในบ้านเราล้วนใช้แบตเตอรี่ลิเธียมด้วยกันทั้งนั้น ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งรถยนต์ไฟฟ้า นั่นจึงไม่แปลกใจเลยว่าเราถึงได้ยินกันมาบ่อย ๆ ว่าเจ้าแบตเตอรี่ลิเธียมนั้นดีต่อสิ่งแวดล้อม เลยทำให้หลายอุตสาหกรรมห่างพากันเปลี่ยนมาใช้งานแบตเตอรี่ตัวนี้ เราจะมาหาคำตอบกันไปพร้อมกันค่ะ ว่าแบตเตอรี่ลิเธียม ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ
ก่อนจะมาเป็นแบตเตอรี่ลิเธียม
แต่เดิมเราใช้เป็นแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด ซึ่งเป็นทางเลือกที่หลายอุตสาหกรรมเลือกใช้ ใช้กันมาเป็นร้อยปี แต่พอมีการเข้ามาของแบตเตอรี่ลิเธียม ทั้งในเรื่องความก้าวหน้าเทคโนโลยีทำให้ยิ่งชัดว่าแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดมันโบราณเกินไปแล้วสำหรับยุคนี้ ทั้งยังให้ในเรื่องประสิทธิภาพได้ไม่ถึงที่สุด และค่อนข้างจะเป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะงั้นจึงถึงเวลาที่จะต้องผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคของแบตเตอรี่ลิเธียม
ข้อดีของแบตเตอรี่ลิเธียม
- ให้พลังงานได้มากกว่า : ส่วนประกอบของธาตุลิเธียมนั้นมีเซลล์ไฟฟ้าเคมี ที่สูงกว่าโลหะอื่น ส่งผลมี
แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ ตัวแบตเตอรี่ลิเธียม จึงนับเป็นต้นกำเนิดของขุมพลังงานที่มีความเสถียรที่สุด
- อายุการใช้งานนานกว่าแบตอื่น : ทั้งยังมีประสิทธิภาพในเรื่องของการชาร์จที่สูงกว่าอีกด้วย สามารถ
ชาร์จและใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดเหมือนกับแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด
- ใช้งานสะดวก : สามารถชาร์จเมื่อไหร่ก็ได้ ใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ ไม่ต้องห่วงเรื่อง
น้ำกลั่น
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ด้วยความที่แบตฯ ชนิดนี้เป็นเซลล์แห้งไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อ
ธรรมชาติ เช่น ของเหลว กรด หรือตะกั่ว จึงเป็นมิตรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
แบตเตอรี่ลิเธียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ
เราก็ได้รู้ข้อดีของแบตเตอรี่ลิเธียมกันแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีเรื่องของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านทางการบริหารจัดการเพื่อใหแบตเตอรี่ลิเธียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1.การประกอบเป็นแพ็กใหม่ (Repack)
เป็นกระบวนการที่ถูกนำมาใช้จัดการกับแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานจากยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว แต่ยังคงมีประสิทธิภาพความจุมากกว่า 80% โดยในภาพรวมจะมีคัดแยกเซลล์ที่ยังมีประสิทธิภาพดีออกมา เพื่อประกอบรวมกันเป็นแบตเตอรี่แพ็ก (Battery Pack) ใหม่ ก่อนนำกลับไปใช้งานกับยานยนต์ไฟฟ้าอีกครั้ง ซึ่งกระบวนดังกล่าว สามารถช่วยลดต้นทุนและพลังงานในกระบวนการผลิต อีกทั้งยังเป็นการใช้งานให้เกิดความคุ้มค่าอย่างมาก
2.การนำกลับไปใช้ซ้ำ (Reuse)
เป็นกระบวนการจัดการกับแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานจากยานยนต์ไฟฟ้าและมีประสิทธิภาพความจุลดลงถึงระดับ 60-80% จึงทำให้ไม่เหมาะสมต่อการนำกลับมาใช้งานในรูปแบบเดิมอีกต่อไป โดยแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพในรูปแบบดังกล่าวจะถูกนำมาคัดแยกเพื่อนำโมดูล (Module) หรือเซลล์แบตเตอรี่ (Cell) ที่เข้าเกณฑ์มาประกอบใหม่ และนำกลับมาใช้งานเป็นระบบกักเก็บพลังงานแบบตั้งอยู่กับที่ (Stationary Energy Storage System) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กระบวนการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการใช้งานในลักษณะ Second Life เช่นนี้ สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่แบตเตอรี่ที่หมดอายุจากการใช้งานในยานยนต์ไฟฟ้าแล้วได้เป็นอย่างดี
3.การรีไซเคิล (Recycle)
เป็นกระบวนการลำดับสุดท้ายในการจัดการกับแบตเตอรี่ที่หมดอายุโดยสมบูรณ์จากการใช้งานจากทุกรูปแบบ กล่าวคือ แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพความจุต่ำกว่า 60% จะไม่มีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้งานในทุกรูปแบบอีกต่อไป ดังนั้น แบตเตอรี่ในกลุ่มดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดของเสียด้วยกระบวนการเชิงกายภาพและกระบวนการเชิงเคมี เพื่อแปรสภาพแบตเตอรี่ให้กลายเป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Raw Materials) ที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปผลิตเป็นแบตเตอรี่ใหม่อีกครั้ง
จะเห็นได้ว่าแบตเตอรี่ลีเธียมมีระบบจัดการที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมมาก ๆ นั่นจึงไม่แปลกใจหากจะพูดว่าแบตเตอรี่ลิเธียมดีต่อสิ่งแวดล้อม และดูเหมือนว่าจะมาแทนเบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ
ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ