Care the Bear Change the Climate Change

Care the Bear หรือ ‘Care the Bear : Change the Climate Change’ โครงการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จึงเกิดขึ้นในปี 2018 ด้วยความตั้งใจลดสภาวะโลกร้อนโดยการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดกิจกรรมหรืออีเวนต์

Platform ความร่วมมือเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการจัดกิจกรรมทุกรูปแบบ (Carbon footprint event) โดยให้คาปรึกษา วางแผน ออกแบบอบรมและให้บริการ Web based GHG Calculator Platform เพื่อใช้คานวณการปล่อยก๊าซอย่างง่าย และนาไปใช้ได้จริง ปัจจุบันมีพันธมิตร 333 องค์กร และลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้ว 17,187.14 Ton CO 2 eeเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ใหญ่(อายุ 10 ปี) จานวน1,909,6821,909,682 ต้น

ประโยชน์ของสมาชิกที่ได้จาก Care the Bear

 เกิดเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม
 เกิดการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม (Engagement Engagement) ของสมาชิกในองค์กรสร้างจิตสานึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กร
 องค์กรสามารถออกแบบแผนการลดการใช้งบประมาณ เช่น ลดค่าไฟฟ้า ลดค่ากระดาษ
 ผลการดาเนินงานสามารถไปขอใบประกาศนียบัตรเกียรติคุณ LESS จากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก)
 ผลที่ได้จากการคานวณการลดก๊าซเรือนกระจกนี้ สามารถนาไปต่อยอดในรายงานประจำปี รายงาน 56-1 One Report Report ของบริษัทได้
 เกิดภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ในการดูแลและใส่ใจสิ่งแวดล้อม

6 Cares ที่ช่วยลดการทำลายโลกจากงานอีเวนต์

ช่องว่างใหญ่ที่ภาคธุรกิจหลายคนมองข้ามไป คือเวลาจัดงานอีเวนต์หรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการตลาด หลายเจ้ามักโฟกัสแค่สิ่งที่ต้องการจะสื่อสารและผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้น จนลืมไปว่า ‘ขยะ’ จากงานนั้นสร้างความเดือดร้อนมากขนาดไหน ซึ่งอีเวนต์ Carbon Footprint เป็นประเด็นที่ทำน้อยกันมาก ๆ คุณเต๋าและทีม SET เล็งเห็นช่องว่างนี้ และพบว่ามีแนวทาง 6 เรื่อง ซึ่งในตอนนั้น SET ได้ทำงานร่วมกับองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีมาตรฐานไว้อยู่แล้ว โดยนำมาปรับใช้ให้ง่ายขึ้น และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมของภาคธุรกิจ ไม่ว่าการทำกิจกรรม สร้างบูท จัดนิทรรศการ มีตติ้ง เอาต์ติ้งของบริษัท หรือตลาดนัดแบบไม่เบียดเบียนโลกและตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของผู้คน ซึ่ง SET จะเข้าไปพูดคุย เวิร์กชอป และช่วยกันระดมความคิดร่วมกับสมาชิกในโครงการด้วยหลักปฏิบัติ 6 Cares

แคร์ที่หนึ่ง เดินทางโดยรถสาธารณะ 

“ลองคิดสิว่า คนจะมาร่วมกิจกรรมกับเราเขาจะมาด้วยวิธีการอะไรที่จะลดโลกร้อนได้ ขับรถมาด้วยกันได้ไหม มารถสาธารณะเองได้ไหม หรือทำอะไรได้บ้าง ซึ่งพอภาคธุรกิจจัดเกิดกิจกรรมขึ้น ต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จะมาจากพวกเราเอง คนที่มาร่วมเขามาเพราะเรา เราเลยต้องโน้มน้าวให้เขาเดินทางมาหาเราโดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด”

แคร์ที่สอง ลดการใช้กระดาษและพลาสติก

“เวลาจัดกิจกรรม เรามีขวดน้ำ มีของแจก มีกระดาษเอกสาร เช่น แผ่นพับประชาสัมพันธ์ ใบปลิว เราเป็นตัวการในการสร้างขยะ ซึ่งถ้าคิดมุมกลับ งั้นเราเปลี่ยนเป็น QR Code ได้ไหม ให้ข้อมูลเขาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ไหม แม้กระทั่งขวดน้ำพลาสติก ถ้าเราแจกเป็นขวดน้ำใช้ซ้ำให้เขาเติมน้ำได้หรือเปล่า ทำให้คนที่มางานเรามีส่วนร่วมกับเราไปด้วย

“เหลือส่วนที่ยังลดไม่ได้ จะนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เหมือนในงาน APEC ที่มี โออาร์ มาเป็นพันธมิตรนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิลและอัพไซคลิ่ง”

แคร์ที่สาม งดการใช้โฟม 

“การเลิกใช้โฟมไปเลย เรามองว่าไม่ใช่เรื่องยากอะไร แค่คุณต้องหาวัสดุทางเลือกมาให้ผู้บริโภคได้ เช่น อาหารอย่าใส่กล่องโฟม การตกแต่งงานอย่าให้มีโฟม ของแจก ป้าย เป็นอย่างอื่นได้ไหมที่เก๋กว่าโฟม จริง ๆ มีวัสดุทดแทนมากมายที่นำมาใช้ได้ ซึ่งเราก็ช่วยสมาชิกโครงการวางแผนตรงนี้ให้มากขึ้น”

แคร์ที่สี่ ลดการใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไฟฟ้า

“ไฟที่ส่องสว่างอาจจะหันมาพึ่งหลอดประหยัดพลังงาน หรือถ้ามีส่วนที่เป็นเอาต์ดอร์ เราก็จะช่วยออกแบบให้คุณไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเยอะ หรือหาทางชดเชยพลังงาน เช่น APEC ที่เป็นการจัดกิจกรรมครั้งใหญ่ มีทั้งแอร์ ไฟฟ้า เราเลี่ยงได้ยากมาก เราก็ร่วมกับพันธมิตรอย่างกลุ่มบริษัทบางจากประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมจัดหาคาร์บอนเครดิตผ่าน Carbon Markets Club มาชดเชย”

แคร์ที่ห้า เลือกใช้วัสดุตกแต่งที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ 

“เราจะตกแต่งพื้นที่ไม่ให้กวนสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นขยะ และนำกลับมาใช้ใหม่อย่างไรได้บ้าง การก่อสร้างพื้นที่ต้องใช้วัสดุทางเลือกอย่างไร เช่น ไม่ใช้ไม้อัดบาง ๆ ที่สุดท้ายมันไม่คงทน และต้องเอาไปทิ้งอย่างเดียวภายหลัง ซึ่งการให้ความรู้เหล่านี้ สุดท้ายก็จะเกิดการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ พนักงาน หรือคนที่คิดจะทำเรื่องนี้ งาน APEC เอง เราก็ร่วมกับพันธมิตรอย่าง SCG ที่ช่วยดูการใช้วัสดุรีไซเคิลทั้งงานและจุดแยกขยะ โดยปลายทางจะนำขยะตรงนั้นไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์”

แคร์ที่หก ลดขยะจากอาหาร

“เราพยายามอย่างยิ่งไม่ให้เกิดอาหารเหลือทิ้ง เชิญชวนให้เกิดการตักแต่พอดี ไม่ว่าจะคิดถึงปริมาณอาหารที่ให้กับลูกค้าว่ามากไปหรือน้อยไป หากเป็นบุฟเฟต์ ป้ายประชาสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ที่บอกให้เขารู้ว่าขยะเหลือทิ้งสร้างผลกระทบอย่างไรก็อาจช่วยได้บ้าง หรืออย่างงาน APEC เราก็ร่วมกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นำขยะเศษอาหารไปอัดเม็ดเป็นอาหารสัตว์ต่อไป”

ทั้งหมดนี้คือหลักปฏิบัติ 6 Cares ที่ SET ใช้มาตลอด และนำไปสู่การสร้างเว็บเบสที่ให้สมาชิกของ Care the Bear เข้าไปกรอกรายละเอียดข้อมูลการจัดกิจกรรมซึ่งคำนวณรวมออกมาได้ว่า 6 เรื่องที่คุณพยายามร่วมกันในการลดโลกร้อน ลดคาร์บอนไดออกไซด์ หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้มากแค่ไหนหลังสิ้นสุดงาน เพื่อให้เห็นว่าเราได้ทำอะไรไปบ้างและรบกวนโลกประมาณไหน จนเกิดแรงกระเพื่อมในการปรับตัวสำหรับการจัดกิจกรรมครั้งต่อ ๆ ไป เช่นเดียวกับงาน APEC ที่ Care the Bear สามารถลดก๊าซเรือนกระจกไปได้ 30,295.40 กิโลคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งถือเป็นความภูมิใจของ SET

ข้อมูลอ้างอิง : https://readthecloud.co/care-the-bear-set-social-impact/

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

Climate Action 2023

Previous article

ตามดูร้าน ‘เคเอฟซี’ กรีน สโตร์ ร้านไก่ทอดรักษ์โลกจาก ‘ซีอาร์จี’

Next article

You may also like

More in TOP STORIES