แหนเป็ด

แหนเป็ด พืชเล็กๆ สีเขียวที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำตามหนองบึง กำลังจะกลายเป็น “ซูเปอร์ฟู้ด” แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูงมากกว่าถั่วเหลือง 7 เท่า

“แหน” หรือ “แหนเป็ด” (Duckweed)

พืชเล็กๆ สีเขียวที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำตามหนองบึง กำลังจะกลายเป็น “ซูเปอร์ฟู้ด” แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูงมากกว่าถั่วเหลือง ไม่ต้องใช้ที่่ดินในการเพาะปลูก

“แหนเป็ด” มีโปรตีนมากกว่าถั่วเหลืองประมาณ 7 เท่า และอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 โดยข้อมูลจากการวิจัยระบุว่า แหนเป็ดมีโปรตีน 45% โตง่ายในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ขยายจำนวนได้สองเท่าในระยะเวลา 24-72 ชั่วโมง และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีในแหล่งน้ำ ไม่ต้องพึ่งพาการใช้ที่ดิน

แหนเป็ด

Whole Foods Market Inc. เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตข้ามชาติของสหรัฐฯ

ยกย่องให้พืชชนิดนี้เป็นหนึ่งในเทรนด์อาหารยอดนิยม ประจำปี 2025 ขณะที่บริษัทสตาร์ทอัป Plantible ประกาศระดมทุน Series B ได้ 30 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำพืชชนิดนี้ไปใช้สร้างแหล่งอาหาร และหวังว่ากลายเป็นอาหารกระแสหลักได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แหนชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับวัชพืช ดูไม่น่ากิน จึงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร บริษัทที่จะนำไปต่อยอดทางการค้าจะต้องหาทางทำการตลาดเพิ่มเติม

อย่างบริษัทสตาร์ทอัป GreenOnyx มีการระดมทุนได้ 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อผลิตอาหารและจำหน่ายแหนภายใต้แบรนด์ Wanna Greens โดยอธิบายสรรพคุณว่าเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กมากกว่าผักโขม มีสังกะสีมากกว่าผักเคลหรือบรอกโคลี และมีโพแทสเซียมมากกว่าผักชนิดอื่นอีกด้วย

นอกจากในแง่คุณค่าอาหารแล้ว แหนเป็ดยังช่วยลดโลกร้อน เนื่องจากปลูกในแหล่งน้ำสาธารณะทั่วไป ไม่ต้องพรวนดินในการทำการเกษตรที่ปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร ใช้น้ำน้อยกว่าถั่วเหลืองถึง 90%

อย่างไรก็ตาม บริษัท GreenOnyx อธิบายว่า นอกจากจะนำแหนไปผลิตเป็นอาหารของคนแล้ว นาซาได้ขอให้บริษัทนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทดสอบการอยู่รอดในอวกาศด้วย

ในปัจจุบัน GreenOnyx ได้วางขายผลิตภัณฑ์แหนเป็ดในร้านค้าปลีกอาหารของอิสราเอล และมีบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ด้วย นอกจากนี้บริษัทกำลังพิจารณาสร้างโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์จากแหนเป็ดเป็นแมสมาร์เก็ตมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก igreenstory

ความกดอากาศต่ำอ่าวไทย-อันดามัน สาเหตุน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

Previous article

โดนัลด์ ทรัมป์ ชัยชนะในครั้งนี้ จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

Next article

You may also like

More in Life