สวนเบญจกิติ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระแสความเปลี่ยนแปลงของสวน หลายๆ สวนในกรุงเทพ นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่สาธารณะไปจนถึงฟังก์ชั่นการใช้งานและระบบนิเวศของธรรมชาติอย่างยั่งยืน สวนขนาดใหญ่ จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็น สวนป่าจริงๆ ไปแล้ว เพราะทุกๆ อย่างจะถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน พึ่งพาอาศัยกัน เป็นความสัมพันธ์ที่ขาดกันไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ พืช แสง สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งจะตรงกับแนวคิดที่ว่า เราในเมืองไม่ได้มีแค่เรา แต่มีสัตว์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันด้วย

เป็นสวนที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันกับสวนสาธารณะใหม่ๆ จากทั่วโลก คือ สัมพันธ์ทั้งกับการทำให้กลายเป็นป่า (rewilding) การเพิ่มฟังก์ชั่นหรืออรรถประโยชน์ต่างๆ ของธรรมชาติที่คราวนี้นั้น ในความรก ความหลากหลายทางชีวภาพและการออกแบบเช่นพืชพรรณอย่างระมัดระวังนั้น ก็ทำให้ตัวสวนมีบทบาทมากไปกว่าการเป็นเครื่องประดับเมือง

สวนกลายเป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่กระทั่งเกาะกลางอาจกลายเป็นพื้นที่ที่คิดเผื่อสรรพสัตว์อื่นๆ เช่น นกหรือแมลง ภาพของสวนที่เต็มไปด้วยไม้ใหญ่และทางเดินที่พาเราไปลัดเลาะใต้ต้นไม้นั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่เริ่มพบเห็นได้ทั้งจากสิงคโปร์ จีน ไปจนถึงอเมริกา

สวนเบญจกิติ เพราะเมืองไม่ได้มีแค่เรา

สวนเบญจกิติ

แน่นอนว่ากระแสการสร้างป่าในเมืองสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิอากาศ (climate change) เพราะเมืองเป็นพื้นที่ที่ปล่อยคาร์บอนสำคัญ และที่สำคัญคือการมองเห็นว่าเมืองไม่ได้ และไม่ควรถูกแยกออกจากธรรมชาติ ในเมืองยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ถ้าเมืองทำลายความหลากหลาย เช่น นก แมลง ในที่สุดแล้วเมื่อวงจรของระบบนิเวศเสียไปเช่นถ้าผึ้งสูญพันธุ์ เราเองที่จะอยู่ไม่ได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยกระแสเรื่อง biodiversity หรือความหลากหลายทางชีวภาพที่เมืองทั้งหลายเริ่มมองว่า ไอ้การออกแบบเมืองแบบเดิมที่เน้นมนุษย์อย่างการออกแบบที่เน้นระเบียบ เน้นระบบ มันอาจจะไม่เวิร์กอีกต่อไป เราจะเห็นตัวอย่างเช่นสวนป่า ไม่ว่าสวนเบญจกิติหรือสวนอื่นๆ เช่น The Bird Wave Bridge ตรงจตุจักร ที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติเพื่อเชื่อมสวนใหญ่สามสวนบริเวณจตุจักรและเป็นพื้นที่ที่คิดเผื่อนกในเมืองใหญ่นั้น นักออกแบบจะเริ่มเลือกสรรค์พืชพรรณที่หลากหลาย และเน้นการออกแบบที่เชื้อเชิญหรือคิดเผื่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มากกว่าจะเน้นการออกแบบที่เรียบง่ายหรือเน้นความเป็นระเบียบ ใช้พรรณไม้ไม่กี่ชนิดแบบเดิม

สวนเบญจกิติ

ตัวอย่างที่สำคัญหนึ่งของการทำให้เมืองกลายเป็นป่า คือ การที่เมืองใหญ่หันมาใช้ไม้เช่นดอกไม้ป่า และในบางประเทศอย่างในอังกฤษที่มีความผูกพันกับทุ่งดอกไม้ ก็มีโปรเจกต์ที่ชวนเมืองให้เปลี่ยนเกาะกลางถนนเป็นทุ่งดอกไม้ นึกภาพจากหญ้าเรียบๆ ที่ต้องตัดบ่อยๆ บางจุดก็จะถูกเปลี่ยเป็นทุ่งดอกไม้ที่จะเปลี่ยนสีไปตามฤดูกาล นอกจากจะทำให้เมืองมีสีสันขึ้นแล้วก็ยังมีงานศึกษาว่าส่งผลดีกับความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นพื้นที่ให้ผีเสื้อและแมลง นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มเติมเช่นประหยัดการตัดดูแลหญ้าลง

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก thematter

โออาร์ ชู “คาเฟ่ อเมซอน” ร้านกาแฟรักษ์โลก ในทุกกระบวนการธุรกิจ

Previous article

10 สัตว์หายากที่กำลังสูญพันธุ์จากปัญหาสิ่งแวดล้อม

Next article

You may also like

More in Life