จรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถใช้งานซ้ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถใช้งานซ้ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศ Hypersonix Launch Systems ในประเทศออสเตรเลียนำเสนอระบบขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กที่สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้และใช้พลังงานไฮโดรเจนพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซพิษอื่น ๆ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทขนส่งอวกาศหลายแห่งอาจละเลยทำให้ไปซ้ำเติมปัญหาสภาพแวดล้อมโดยการปล่อยก๊าซพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจรวด

ปัจจุบันการขนส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ประมาณการว่าภายในปี 2030 อาจมีดาวเทียมขนาดเล็กมากกว่า 50,000 ดวง ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศหลังจากเทคโนโลยีการส่งดาวเทียมถูกพัฒนาขึ้นหลายรูปแบบโดยใช้ต้นทุนในการขนส่งที่มีราคาถูกลงและเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ หรือมหาวิทยาลัยสามารถส่งเทคโนโลยีดาวเทียมที่ตัวเองพัฒนาขึ้นสู่อวกาศ

จรวด Delta-Velos Orbiter ของบริษัทแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน จรวดท่อนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ขนส่งจรวดท่อนที่สองซึ่งทำหน้าที่บรรทุกและขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่อวกาศ จรวดทั้งสองท่อนถูกออกแบบให้สามารถเดินทางกลับโลกโดยใช้วิธีการร่อนลงจอดคล้ายเครื่องบินในสนามบินเพื่อเติมเชื้อเพลิงและพร้อมใช้งานในภารกิจต่อไป วิธีการดังกล่าวแตกต่างจรวดขนส่งอวกาศแบบเดิมที่ใช้วิธีตกลงไปในทะเลและทำการเก็บกู้ด้วยเรือเพื่อลากจูงเข้าสู่ชายฝั่ง

จรวดของบริษัทใช้เครื่องยนต์จรวดแบบสแครมเจ็ท (Scramjet) ซึ่งบริษัทกล่าวว่าเป็นเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและมีการวิจัยพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี ชิ้นส่วนของจรวดหลายชิ้นผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทมีแผนทดสอบจรวด Delta-Velos Orbiter ครั้งแรกในช่วงปี 2024 อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มต้นบริษัทใช้การพัฒนาจรวดขนาดเล็กเพื่อเป็นการทดสอบเทคโนโลยีเบื้องต้นโดยใช้เครื่องยนต์จรวดแบบสปาร์ตัน (Spartan) มีกำหนดการทดสอบครั้งแรกในปี 2023

เทคโนโลยีของบริษัท Hypersonix Launch Systems มีลักษณะคล้ายกับเครื่องบินอวกาศแต่ใช้จรวดส่งขึ้นสู่อวกาศ รวมไปถึงความพยายามใช้พลังงานไฮโดรเจนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับเป้าหมายในอนาคตหากระบบขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กที่บริษัทพัฒนาขึ้นประสบความสำเร็จ บริษัทมีแผนพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง (Hypersonic Airliners) ข้ามทวีปที่บินด้วยความเร็วสูงและใช้การเดินทางบนอวกาศเพื่อลดระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางข้ามทวีปให้ใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก tnnthailand.com

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

“บ้านรักษ์โลก” สร้างบ้านสวยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Previous article

แสนสิริประกาศปี 65 ก้าวแกร่งด้วย“STEP BEYOND”เติบโตยั่งยืนทุกมิติ

Next article

You may also like

More in Innovation