ไขข้อสงสัย พลังงานชีวมวล คืออะไร

ไขข้อสงสัย พลังงานชีวมวล คืออะไร

หนึ่งในพลังงานสะอาดที่กำลังได้รับความนิยม เพื่อที่จะนำมาใช้ทดแทนพลังงานที่เราใช้กันอยู่นั้น นั่นคือ พลังงานชีวมวล เป็นคำที่หลายคนคงไม่คุ้นชินกันสักเท่าไร แต่ในประเทศไทยของเรานั้นสนับสนุนให้ใช้พลังงานชีวมวลกันมาก เนื่องจากไม่ใช่แค่เพียงจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยเรื่องปากท้องของเกษตรกร ที่มาจากรายได้ที่ยั่งยืน เราจึงจะพาไปไขข้อสงสัยกันว่า จริง ๆ แล้ว พลังงานชีวมวล คืออะไร กันแน่

พลังงานชีวมวล คืออะไร

พลังงานชีวมวล คือ พลังงานที่ได้จากจากผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ เศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร เศษไม้ หรือของเหลือจากจากอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น แกลบ, ชานอ้อย, เศษไม้ ที่ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่า เช่น กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสด, กากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง, ซังข้าวโพด ฯลฯ

พลังงานชีวมวลจัดว่าเป็นพลังงานสะอาดหรือพลังหมุนเวียนที่ปัจจุบันภาครัฐสนับสนุนให้มีการใช้ทดแทนพลังงานเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มช่องทางการหารายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรมากขึ้น

กระบวนการแปรรูปพลังงานชีวมวลไปเป็นพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ

เมื่อเราทราบแล้วว่า พลังงานชีวมวล คืออะไร เราก็จะมาดูกันว่าพลังงานนี้สามารถแปรรูปออกไปเป็นพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก ได้แก่

  1. การเผาไหม้โดยตรง เป็นการทำปฏิกิริยาการรวมตัวของวัตถุดิบที่ลุกไหม้กับออกซิเจน แล้วคายความ

ร้อน ซึ่งสามารถนำพลังงานความร้อนนี้ไปผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูง โดยอาศัยกังหัน
ไอน้ำเป็นตัวเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าต่อไป

  1. การผลิตก๊าซ เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่า แก๊ส

ชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน ไฮโดรเจน และ คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถนำไปใช้กับกังหันแก๊ส

  1. การหมัก เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะที่ไร้อากาศ โดยชีวมวลจะถูกย่อยสลาย

และแตกตัวจนเกิดเป็นแก๊สชีวภาพ ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สมีเทนนี้ถือเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี ที่สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้าได้

  1. การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช ซึ่งสามารถแยกย่อยกระบวนการผลิตได้อีก 3 ประเภท ดังนี้
  • กระบวนการด้านชีวภาพ จะทำการย่อยสลายจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมถึงเซลลูโลสต่าง ๆ จากพืชทางการเกษตรทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อให้กลายเป็นเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
  • กระบวนการด้านฟิสิกส์และเคมี เป็นการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากพืชที่มีน้ำมันในตัว โดยอาศัยกระบวนการ “Transesterification” สำหรับใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
  • กระบวนการใช้ความร้อนสูง มีหลายกระบวนการ เช่น กระบวนการไพโรไลซิส คือเมื่อวัตถุดิบจากงานเกษตรทั้งหลายเหล่านี้โดนความร้อนสูงในสภาวะที่ไร้ออกซิเจนก็จะสลายตัวไปกลายเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปของของเหลวและก๊าซผสมกัน

เราได้ประโยชน์อะไรจากพลังงานชีวมวล

สำหรับประโยชน์ที่ได้จากพลังงานชีวมวลนั้นนับว่าเป็นอะไรที่คุ้มค่า และเป็นทางเลือกการใช้พลังงานที่มีระดับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งประโยชน์ของพลังงานชีวมวลมีดังนี้

  1. พลังงานชีวมวลช่วยลดขยะที่จะเกิดจากการเก็บเกี่ยว และ ผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ดีอีกทางหนึ่ง
  2. ช่วยในการลดการเผาสิ่งเหลือใช้ของชีวมวลเหล่านี้ในพื้นที่เก็บเกี่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อ

สิ่งแวดล้อมอย่างมาก นำมาเผาในเตาที่ควบคุมพิเศษที่จะก่อผลเสียกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า และได้ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากการเพาะปลูกสูงที่สุด และทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง

  1. พลังงานชีวมวลยังช่วยสนับสนุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในการขายผลผลิตที่เหลือใช้ทาง

การเกษตรและยังถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติให้คุ้มค่าอีกด้วย

ทีนี้เราก็ได้รู้กันแล้วว่า พลังงานชีวมวลคืออะไร มีประโยชน์และสามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานเดิมได้อย่างไร ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีกับหลาย ๆ ด้านเลยนะคะ เราคงต้องคอยติดตามการพัฒนาด้านนี้กันต่อไป

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustainธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

กสิกรไทยประกาศจุดยืนปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2573

Previous article

บีโอไอหนุนไทยสู่คลัสเตอร์อุตฯ พลาสติกชีวภาพ ส่งเสริม ⠀“เนเชอร์เวิร์คส์”ผลิตพอลิเมอร์ย่อยสลายรับเทรนด์สิ่งแวดล้อม

Next article

You may also like

More in Innovation