นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีการคืนชีวิตใหม่ให้กับพลาสติกเก่าโดยการเปลี่ยนให้เป็นสบู่
พลาสติกมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับกรดไขมันซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนผสมหลักในสบู่ ความคล้ายคลึงนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนโพลีเอทิลีนเป็นกรดไขมัน แล้วขึ้นรูปเป็นสบู่
รองศาสตราจารย์กุยเลียง หลิว ผู้นำทดลองและเขียนบทความลงวารสาร Science ระบุว่าปัญหาของการทดลองนี้คือขนาดของพลาสติกที่ใหญ่ โดยมีความยาวประมาณ 3,000 อะตอมของคาร์บอน ในขณะที่กรดไขมันมีขนาดเล็กกว่ามาก
รีไซเคิลพลาสติก เป็นสบู่จากพลาสติกชิ้นแรกของโลก
จากการสังเกตเตาผิงที่บ้านของรองศาสตราจารย์กุยเลียง พบว่า ฟืนส่วนใหญ่ทำจากโพลีเอทิลีน เมื่อถูกเผาไหม้โพลีเมอร์จะแตกตัวเป็นสายสั้น ๆ ก่อนกลายเป็นโมเลกุลก๊าซขนาดเล็ก จนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเต็มรูปแบบเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ทำนองเดียวกันถ้านำพลาสติกมาเผา แต่หยุดกระบวนการก่อนที่จะเป็นก๊าซขนาดเล็ก ก็จะได้โพลีเอทิลีนสายสั้นใกล้เคียงกับกรดไขมัน
ทีมทดลองของ รศ.กุยเลียง จึงสร้างเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กคล้ายเตาอบเพื่อให้ความร้อนแก่โพลีเอทิลีนในกระบวนการที่เรียกว่าเทอร์โมไลซิสแบบไล่ระดับอุณหภูมิ เมื่อกระบวนการเผาเรียบร้อย ทีมทดลองได้เก็บรวบรวมสารตกค้างจากการเผา และพบว่าสิ่งที่ได้คือโพลีเอทิลีนสายสั้น ซึ่งเป็นขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง จากนั้นก็เปลี่ยนขี้ผึ้งให้เป็นสบู่
นี่เป็นก้าวแรกในการพัฒนาวิธีการ รีไซเคิลพลาสติก ให้เป็นสบู่ และถือเป็นสบู่จากพลาสติกชิ้นแรกของโลก
วิธีการนี้ใช้ได้กับโพลีเอทิลีนและโพลีโพรพีลีน ซึ่งเป็นพลาสติกสองประเภทที่พบมากที่สุด โดยขยะเหล่านี้รวมกัน คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของขยะพลาสติกทั้งหมด หรือเกือบ 200 ล้านตันต่อปี
ขยะพลาสติกมากกว่า 80% จะถูกนำปไปฝังกลบ ในขณะที่น้อยกว่า 10% ถูกนำกลับมารีไซเคิล ข้อดีอย่างหนึ่งของวิธีการของเผลี่ยนพลาสติกเป็นสบู่ก็คือใช้ได้กับพลาสติกที่ “หมดอายุการใช้งาน” ซึ่งไม่สามารถรีไซเคิลด้วยวิธีปกติได้ วิธีการนี้ยังได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถปรับขนาดเพื่อใช้ในสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมได้
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก igreenstory