Bitesize
ปลาหมอคางดำ เอเลี่ยนสปีชีส์ที่กำลังทำลายระบบนิเวศ
ปลาหมอคางดำ เอเลี่ยนสปีชีส์ที่กำลังระบาดอยู่ในหลายจังหวัดและเป็นตัวการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ในระบบอาหารของประเทศในขณะนี้ ข้อมูลจากกรมประมงล่าสุด ระบุว่า ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin tilapia) หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ (Sorotheodon Melanotheron) เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (Alien Species) กระจายไปใน 13 จังหวัดชายฝั่งแถบอ่าวไทย ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพราะพวกมันกินลูกปลา ลูกกุ้ง และลูกหอยเป็นอาหาร ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่มีบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ เนื่องจากปลาหมอชนิดนี้มันร้ายกาจสามารถอยู่ได้ทั้งสภาพน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ...
Bitesize
ไม่รับเครื่องปรุง เท่ากับเป็นการลดขยะพลาสติกไปในตัว บน LINE MAN
ไม่รับเครื่องปรุง ทุกคนสามารถลดขยะจาก “ซองเครื่องปรุง” ได้ โดยการปฏิเสธกับร้านค้า แต่ใครรับมาแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ สามารถส่งไปผลิตเป็นพลังงานได้ “ขยะ” ที่เราทุกคนมีส่วนสร้างขึ้นจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ขยะส่วนหนึ่งก็คือ ซองเครื่องปรุง และถุงน้ำจิ้มอาหารปิ้งย่าง เครื่องปรุงเหล่านี้พนักงานมักจะใส่ให้มาโดยอัตโนมัติ และคนที่เขาบริโภคก็เต็มใจรับมาปรุงรสชาติอาหาร ทั้งซองน้ำปลา ซองพริกป่น ซองน้ำตาลทราย ซองซอสประเภทต่างๆ ซองน้ำจิ้มลูกชิ้น ซองน้ำจิ้มไก่ย่าง หมูย่าง ฯลฯ ...
Bitesize
5 ฉลามไทยเสี่ยงสูญพันธุ์ หากไม่เข้าช่วยเหลือ
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง ได้โพสต์โปสเตอร์ ฉลามไทย ผ่านเฟสบุ๊ก ‘กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง’ เป็นโปสเตอร์ชุดใหม่ที่รวมรวมสายพันธุ์ฉลามในทะเลไทยที่สมบูรณ์ที่สุด และเปิดให้สามารถโหลดไฟล์ขนาดใหญ่เก็บไว้ ข้อมูลของ International Union for Conservation of Nature (IUCN) และ Thailand Red List พบว่าฉลามที่พบในน่านน้ำไทยมีทั้งหมด 87 ...
Bitesize
ปะการังฟอกขาว ไทยวิกฤตสุดในรอบ 14 ปีจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่ร้อนขึ้น
อุณหภูมิน้ำทะเลที่ร้อนขึ้นต่อเนื่อง และเกินขีดจำกัดที่จะรับไหว ทำให้เกิด “ปะการังฟอกขาว” ระดับรุนแรง คำถามคือปะการังฟอกขาวแล้วมันเกี่ยวชีวิตผู้คนยังงัย เกี่ยวแน่ๆ เนื่องจากมีคนกว่า 500 ล้านคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมประมงและการท่องเที่ยวจะเดือดร้อนถ้าปะการังหายไป เขาคำนวณมาให้ด้วยว่าจะสร้างความเสียหายกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งบ้านเราพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว และสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในไทยตอนนี้ถือว่ารุนแรงสุดในรอบ 14 ปี ปะการัง คืออะไร? ปะการังเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวของปะการังจะเรียกว่าโพลิปหรือเนื้อเยื่ออาศัยอยู่รวมกันเป็นอาณานิคม (Colony) โพลิปแต่ละตัวจะหลั่งแคลเซียมคาร์บอเนตและเมื่อเวลาผ่านไปแคลเซียมคาร์บอเนตจะก่อตัวเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงเพื่อยึดเกาะพื้นผิวใต้ทะเล ...
Bitesize
“เกษตรฟื้นฟู” มีสำคัญยังไง ทำไมถึงเป็นทางออกของวิกฤตโลกร้อน
เกษตรฟื้นฟู : ภาคเกษตรมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 1 ใน 3 ของทั่วโลก หากหันมาทำ “เกษตรฟื้นฟู” จะช่วยลดคาร์บอน และเป็นทางออกจากวิกฤตโลกร้อน มีการคาดการณ์ว่าหากไม่เร่งฟื้นฟูที่ดินเพื่อการเกษตร ภายใน 50 ปีข้างหน้าอาจไม่มีที่ดินเหลือเพียงพอที่จะผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งโลก ซึ่งการเกษตรที่ทำให้ที่ดินเสื่อมโทรมก่อให้เกิดการสูญเสียความสามารถในการผลิตมากถึง 400,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี และหากไม่หันมาพึ่งพาเกษตรธรรมชาตินอกจากจะเป็นการทำลายล้างที่ดินแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ดี สถานการณ์สภาพภูมิอากาศจนถึงขณะนี้อาจกล่าวได้ว่าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิโลกให้อยู่ในระดับ 1.5 ...
Bitesize
อ้วกวาฬ หรือ Ambergris ไอเทมแรร์สุดล้ำค่าของวาฬหัวทุย ที่ทุกคนอยากได้
“อ้วกวาฬ” อึทองคำของวาฬหัวทุย แรร์ไอเทมที่ใครจะซื้อต้องควักเงินเป็นล้าน ทำไมถึงมีราคาแพง และสร้างความฮือฮาทุกครั้งที่มีการค้นพบ มองเหลี่ยมไหนก็ยังไม่เห็นทางว่า ทั้ง “อ้วก” หรือ “ขี้” จะกลายเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าการซื้อขายเป็นร้อยล้านได้ยังไง นอกเสียจาก “อ้วกวาฬ” สมบัติแห่งท้องทะเล ที่ว่ากันว่าใครก็ตามที่เก็บอ้วกวาฬได้เหมือนถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง กรณีล่าสุด น้องทิว วัย 16 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านเลขที่ 235 ...
Bitesize
“สยามพิวรรธน์” เดินหน้ารักษ์โลก เปิดน้ำดื่ม ONESIAM Pride Edition บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมรีไซเคิล
กลุ่ม “สยามพิวรรธน์” ฉลอง Pride Month ด้วยการเปิดตัวน้ำดื่ม ONESIAM ดีไซน์ใหม่ สวยหรู ดูดี บรรจุภัณฑ์ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงาน ปฎิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยในงาน Innovation Keeping the World 2024 นวัตกรรม ...
Bitesize
ปูเสฉวน 2 ใน 3 สายพันธุ์ทั่วโลกกำลังนำขยะพลาสติกมาใช้เป็น ‘บ้าน’
ปูเสฉวน 2 ใน 3 สายพันธุ์ทั่วโลกกำลังนำขยะพลาสติกมาใช้เป็น ‘บ้าน’ หรือเกราะห่อหุ้มร่างกาย การศึกษานิเวศวิทยาทางอินเทอร์เน็ต (iEcology) นักวิจัยพบว่า 85% ของ ภาพปูเสฉวน 386 ภาพที่เผยแพร่สาธารณะผ่านโซเชียลมีเดีย ใช้ขยะพลาสติกเป็นเกราะหุ้มร่างกาย โดยขยะที่พบส่วนมากเป็นฝาขวดพลาสติก จากการคำนวณพบว่า ปูเสฉวน 10 ใน 16 สายพันธุ์ในโลกที่ถูกบันทึกผ่านภาพถ่ายอยู่ใน ...
Bitesize
เปิดประวัติ วันวาฬโลก 19 กุมภาพันธ์ ที่ปัจจุบันยังคงถูกล่า
เปิดประวัติ วันวาฬโลก 19 กุมภาพันธ์ 2023 วาฬยังเสี่ยงสูญพันธุ์จากการคุกคามของมนุษย์ รู้หรือไม่วาฬยังคงถูกล่าเชิงพาณิชย์ แม้เราไม่จำเป็นต้องกินวาฬแล้วก็ตาม มหาสมุทรสีฟ้าอันกว้างใหญ่ที่กว้างกว่าพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์หลายเท่า เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง “วาฬ” สิ่งมีชีวิตใต้น้ำขนาดใหญ่สุดมหัศจรรย์ แถมยังเป็นมิตรต่อทุกสรรพสิ่งบนโลก แต่เห็นใจดีขนาดนี้ ก็ยังเป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามบ่อยที่สุด โดยเฉพาะการถูกรุกรานโดยมนุษย์ นานหลายศตวรรษ ที่วาฬกลายเป็นห่วงโซ่หนึ่งของมนุษย์ที่ต้องการแสวงหาอาหารและเงินจากสิ่งมีชีวิตยักษ์ใหญ่นี้ ปัญญาที่เลิศเลอกว่าคืออุดมคติยึดมั่นของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์ ที่เชื่อมั่นว่าตนจะทำอะไรต่อสิ่งที่ด้อยกว่าก็ได้ วาฬผู้แสนอารีย์เริ่มลดจำนวนลง อันเนื่องมาจากการการล่าและการสูญเสียที่อยู่อาศัย ด้วยเหตุนี้ ...
Bitesize
โลกร้อนทำน้ำแข็งละลาย น้ำทะเลร้อนขึ้นกระทบทั้งมนุษย์และสัตว์
การศึกษาพบว่าในปี 2566 มหาสมุทรโลกดูดซับความร้อนมากกว่าปีอื่นๆ นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก และดูเหมือนว่ามหาสมุทรร้อนขึ้นและร้อนขึ้นเรื่อยๆ การค้นพบเรื่องมหาสมุทรร้อนขึ้น เป็นงานวิจัยฉบับปรับปรุงล่าสุดของการศึกษาประจำปีที่นำโดยสถาบันฟิสิกส์บรรยากาศ (IAP) ที่ Chinese Academy of Sciences ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่ามหาสมุทรร้อนขึ้นด้วยอัตราทำลายสถิติทุกปีนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา น้ำทะเลร้อนขึ้น แหล่งกักเก็บความร้อน มหาสมุทรกักเก็บความร้อนส่วนเกินไว้ 90% ในระบบของโลก ตราบใดที่ระดับก๊าซเรือนกระจกยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศค่อนข้างสูง มหาสมุทรก็จะดูดซับพลังงานต่อไป ...