วันโอโซนโลก หรือ “World Ozone Day” ตรงกับวันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็นวันที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของโอโซนที่มีหน้าที่ในการปกป้องชั้นบรรยากาศของโลกจากรังสียูวี
และเพื่อรำลึกถึงการลงนามในพิธีสารมอนทรีออลในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1987 ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างประเทศในการลดการผลิตและการใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนธรรมชาติ
เราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับโอโซนให้มากขึ้น ว่าทำไมถึงต้องมีการตั้งวันโอโซนโลกขึ้น โอโซนมีกี่ประเภท โอโซนมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร รวมไปถึงประโยชน์ของโทรโพสเฟียร์ที่มีต่อโลก พร้อมกับจะมาแชร์วิธีการช่วยโลกในวันโอโซนโลก ถ้าพร้อมแล้วเรามาทำความรู้จักวันนี้ไปด้วยกันเลย!
“โอโซน” คำนี้สำคัญอย่างไร ทำไมถึงเกี่ยวข้องกับโลกร้อน
ก่อนที่จะรู้จักวันโอโซนโลกให้มากขึ้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าโอโซนคืออะไร?
โอโซน (Ozone) เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอะตอมออกซิเจนสามตัว (O3) มีความสำคัญมากในการปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสี UV จากดวงอาทิตย์ โดยโอโซนธรรมชาติจะอยู่ในชั้นบรรยากาศหลัก 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นสตราโทสเฟียร์ และชั้นโทรโพสเฟียร์ ซึ่งโอโซนทั้ง 2 ชั้นนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับว่ามันจะวางตัวอยู่ที่ชั้นใด
สาเหตุที่ทำให้ต้องมี วันโอโซนโลก คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อโลก
อย่างที่ทราบกันแล้วว่าโอโซนนั้นไม่ว่าจะตัวไหนก็ส่งผลกระทบต่อโลกได้ทั้งสิ้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนหันมาสนใจเกี่ยวโอโซนมากขึ้น จนนำไปสู่การกำหนดให้มีวันโอโซนโลกขึ้น นั่นก็คือการที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบมีรูโหว่ขนาดใหญ่เกิดขึ้นในชั้นโอโซนธรรมชาติเหนือทวีปแอนตาร์กติกาใกล้ขั้วโลกใต้
โดยการเกิด “รูโอโซน” (Ozone Hole) มีสาเหตุมาจากกระแสลมพัดคลอรีนมาสะสมในเมฆชั้นสตราโทสเฟียร์ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว และเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนในเดือนตุลาคม แสงอาทิตย์มีมากขึ้นและกระทบตัวกับก้อนเมฆ ทำให้คลอรีนแยกตัวออกจากกันและทำปฏิกิริยากับโอโซนจนเกิดเป็นรูโหว่
รูโหว่นี้ส่งผลกระทบต่อโลกเป็นอย่างมากและทำให้คนทั่วโลกต้องเกิดการตระหนักเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลัก ๆ ที่ต้องให้ความสนใจจนเกิดวันโอโซนโลก คือ
เราสามารถช่วยกันรณรงค์ในวันโอโซนโลก ได้อย่างไรบ้าง
หลาย ๆ คนเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็อาจจะสงสัยว่าแล้วคนตัวเล็ก ๆ อย่างเราจะมีส่วนช่วยโลกในวันโอโซนโลกได้อย่างไรบ้าง มี 2 วิธีในการช่วยให้คุณไม่เป็นหนึ่งในผู้ทำลายชั้นโอโซน นั่นก็คือ…
- เลิกการใช้สาร CFC: ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นอย่างตู้เย็น หากบ้านไหนมีตู้เย็นที่อายุการใช้งานเกิน 10 ปี ควรเปลี่ยนเป็นตู้เย็นใหม่เพราะตู้เย็นเก่านั้นอาจมีสาร CFC และยังทำให้คุณเปลืองไฟอีกด้วย
- เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะโฟมหรือสเปรย์: เพราะวัสดุเหล่านี้มักจะมีส่วนประกอบหลักเป็นสาร CFC อีกทั้งยังย่อยสลายยาก และไม่สามารถ รีไซเคิล ได้อีกด้วย
นอกจากนี้กิจกรรมอื่น ๆ อย่างการประหยัดไฟ ไม่จอดรถยนต์ติดเครื่องไว้เป็นเวลานาน รีไซเคิลของใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ถุงผ้าแทนพลาสติก กิจกรรมเหล่านี้ล้วนช่วยในการอนุรักษ์โลกโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันโอโซนโลกก็สามารถทำได้
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก rhinoshield