Smart farming ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่

Smart farming ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่

ในโลกทุกวันนี้ เทคโนโลยีและรบบดิจิทัลได้เขามามีบทบาทในทุกอณูของชีวิตผู้คน ทั้งในภาคการศึกษา สังคม วัฒนธรรม อุตสาหกรรม รวมถึงในภาคเกษตรกรรม ก็ได้มีแนวคิดใหม่เพื่อนำมาพัฒนาการเกษตรที่เรียกกันว่า Smart Farming โดยมีจุดเริ่มต้นที่คนรุ่นใหม่ได้ผันตัวเองกลับไปเป็นเกษตรกรยุคใหม่(Smart Farmer)ที่บ้านเกิดของตนเอง และมีความสนใจในการทำเกษตรกรรมแบบไฮเทค ใช้เทคโนโลยีเข้าไปเปลี่ยนวิธีการและวิถีชีวิตแบบเดิมๆ  “smart farming” แท้จริงแล้วคืออะไร ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงๆหรือไม่ เราไปเรียนรู้จักเทคโนโลยีนี้ด้วยกัน

Smart Farming  คืออะไร

smart farming คือการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการกับฟาร์มหรือการเกษตรยุค ใหม่เพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยในการผลิตของภาคการเกษตร ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ มีความเกี่ยวข้องกับทั้งตัวของเกษตรกรและวงจรห่วงโซ่อาหารของการทำเกษตร ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างในขั้นพื้นฐานของการคมนาคมและสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และการจัดเก็บข้อมูลระยะไกล(Geo-informatics และ remote sensing) เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว(Embedded system) ระบบตรวจวัดและเครือข่าย(Sensors network) เพื่อตรวจเก็บและประมวลผลข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ รวมไปถึงระบบเครื่องจักรกลการเกษตร( Farm robotics)  เพื่อคงประสิทธิภาพในการทำงานและที่จะทำให้ผลผลิตออกมาดีที่สุด

ประโยชน์/ข้อดีของการทำ Smart Farming 

เนื่องจาก smart farming คือการเกษตรอัจฉริยะ ที่ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการในด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ หุ่นยนต์ เครื่องจักร โดรน หรือระบบ AI เป็นต้น เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ท ที่ช่วยยกระดับการพัฒนาเกษตรกรรม ทั้ง 4 ด้าน ดังต่อไปนี้

  • เพื่อช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิต
  • เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและควบคุมมาตรฐานสินค้า
  • ช่วยลดความเสี่ยงในภาคเกษตรที่เกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและจากภัยธรรมชาติ
  • เพื่อช่วยจัดการ ส่งผ่านความรู้โดยผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม

นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะเป็นใน Smart Farming 

ในการปรับเปลี่ยนวิธีการในการทำการเกษตรที่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการแก้ปัญหาในขั้นตอนต่างๆในการผลิต ดังต่อไปนี้

  • การควบคุมโรคและศัตรูพืช
    มีส่วนช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถระบุอาการของโรค และมีระบบเตือนเกษตรได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดปัญหา ทำให้แก้ปัญหาได้ทันเวลา และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
  • การตรวจสอบสถานะน้ำและคุณภาพของดิน
    ได้มีการสร้างสรรค์เทคโนโลยีร่วมกับระบบเซ็นเซอร์ต่างๆ ช่วยวัดอุณหภูมิความชื้นของดิน ช่วยตรวจสอบสารอาหารภายในดิน รวมถึงสามารถมีผู้ช่วยส่วนตัวในการทำเกษตรได้
  • การสำรวจทางอากาศเพื่อหาความผิดปกติ
    ในกรณีที่เกษตรมีพื้นที่ทำกินกว้างขวาง จำนวนหลายไร่ ทำให้ดูแลรักษาได้ไม่ทั่วถึง จึงทำให้เกิดอุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยในการบินเพื่อสังเกตการณ์รอบไร่ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคนจำนวนมากในการควบคุมดูแล อีกทั้งยังสามารถบันทึกสิ่งต่างๆที่ต้องการทราบรายละเอียดรอบพื้นที่ของเกษตรกรได้ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น อุปกรณ์นั้นยังมีภาพถ่ายที่มีความละเอียดสูงด้วย
  • บรรจุภัณฑ์และการขนส่ง
    การมีระยะเวลาในการขนส่งที่ชัดเจน ทำให้เกษตรกรและผู้ขนส่งมีความพยายามที่จะดูแลและปกป้องสินค้าหรือผลิตผลได้ดีขึ้น โดยใช้ระบบควบคุม ดัดแปลงภูมิอากาศ การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันเชื้อรา รวมถึงเครื่องบันทึกอุณหูมิ

อุปสรรคของการทำ Smart Farming 

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะทำให้อะไรหลายๆอย่างดูง่ายขึ้น แต่เกษตรกรไทยก็ยังเลือกใช้วิธีการทำเกษตรในรูปแบบเดิมหรืออาจจะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ เราสามารถจำแนกอุปสรรคปัญหาออกมาได้ดังนี้

  • การลงทุนในเทคโนโลยีทำให้เข้าถึงปลายทางได้ยาก
    การใช้นวัตกรรมต่างๆเพื่อการเกษตร จะต้องมีการลงทุนในกระบวนการสร้างสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการใช้เทคโลโลยีต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ เช่นการทำระบบน้ำอัตโนมัติโดยใช้สมาร์ทโฟนควบคุม แต่ปัญหาคือฟาร์มของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นระบบไฟบ้าน จึงไม่สามารถตอบสนองกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของระบบได้อย่างเพียงพอ และถ้าจะรื้อทำใหม่ จะต้องเสียเวลา เสียเงินมากขึ้นอีก เป็นต้น
  • ความซับซ้อนที่มากเกินไปของเทคโนโลยี
    การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล แม้จะมีข้อดี แต่หลายครั้งข้อมูลหรือระบบในการใช้งานก็มีความยากในการเข้าถึง และยากเกินกว่าที่เกษตรกรธรรมดาๆจะสามารถใช้งานได้จริง และเกิดความยุ่งยากในการเรียนรู้ที่จะใช้
  • นวัตกรรมและเทคโนโลยีถูกสร้างจากหลายคน
    เนื่องจากกระบวนการและขั้นตอนในการทำการเกษตรนั้นมีความหลากหลาย และเราต้องยอมรับว่าแม้ผู้ผลิตเทคโนโลยีเองก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญทุกจุด ทำให้แต่ละขั้นตอนในการทำการเกษตร จะต้องนำเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆคนเข้ามาร่วมกันใช้งาน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้เชื่อมโยงกันลำบากและไม่เกิดประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร
  • ความคุ้มค่าในการลงทุนที่ไม่ชัดเจน
    โดยปกติเกษตรกรต่างก็ต้องแบกรับภาระในการทำการเกษตรมากอยู่แล้ว และถ้าหากต้องใช้ระบบ Smart Farming ก็จะยิ่งทำให้ต้นทุนสูงมากยิ่งขึ้นอีก อาจส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้จริง

จะว่าไปแล้ว “Smart Farming” เกิดขึ้นมาเพื่อต้องการเพิ่มปริมาณในผลผลิตทางการเกษตรที่มากยิ่งขึ้น สามารถปลูกพืชผักต่างๆได้ตลอดทั้งปี ไปจนถึงเครื่องจักรหนัก (Heavy Machine) ที่ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์การเกษตรส่งออกได้เต็มรูปแบบ เพื่อสามารถส่งออกผลิตที่มีคุณภาพในตลาดโลกได้ แต่ในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อถูกใช้มากไปก็จะต้องร่อยหรอลงเป็นธรรมดา และสิ่งที่เป็นความห่วงใยตามมาคือจะต้องให้การดูแลเอาใจใส่สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ทำการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตด้วยเช่นกัน

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

ลอยกระทง อย่างไรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Previous article

พลังงานนิวเคลียร์ดีต่อโลกหรือไม่

Next article

You may also like

More in Bitesize