Life Cycle Assessment กระบวนการเพื่อความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์
การประเมินในด้านผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย จะเริ่มให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบในระยะยาวเป็นหลัก โดยมีชื่อหนึ่งเรียกว่า การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือ Life Cycle Assessment (LCA) เป็นกระบวนการในการประเมินผลกระทบที่ผลิตภัณฑ์มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิต ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและหนี้สินที่ลดลง โดยกระบวนการเหล่านี้ได้รับวิธีการประเมินวงจรชีวิตเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามรายงานของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Life Cycle Assessment เป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ วัสดุ กระบวนการ หรือกิจกรรม จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเริ่มมีการพูดถึงในประโยชน์ของการนำมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ
โดยทั่วๆ ไปในขณะที่ทำการตัดสินใจด้านการผลิตและการตลาดที่สำคัญ อาจไม่ได้คำนึง Life Cycle Assessment มากนัก การเริ่มต้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อค้นหาทางแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อภาพรวม เพื่อให้นวัตกรรมที่ช่วยให้ทีมของพวกเขาสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า และส่งเสริมคุณลักษณะเฉพาะของพวกเขาเพื่อกระตุ้นความสนใจของลูกค้า แต่กระบวนการไม่ได้มีแค่ผลิตแล้วจบลงในขั้นตอนนั้นเพียงอย่างเดียว ถ้ามองในการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม Life Cycle Assessment นั้น ถูกยกระดับให้เป็นหนึ่งในกระบวนการที่รับรองมาตรฐานระดับสากล ISO 14000 โดยเป็นมาตรฐานสากลของกระบวนการการผลิต ว่าด้วยเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการในการประเมินผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น จะเริ่มตรวจสอบได้ดังนี้
- กระบวนการจัดหาทรัพยากร : กระบวนการจัดหาทรัพยากรเพื่อปรับเป็นผลิตภัณฑ์ จะต้องประเมินเรื่องวัตถุดิบที่นำมาใช้ รวมถึงการนำพลังงานมาใช้ ว่าส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทางตรงหรือทางอ้อม
- กระบวนการผลิต : การผลิตในอุตสาหกรรม จะต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มต้นนวัตกรรมในการผลิตสินค้า ว่าผลิตอะไร ใช้ปริมาณส่วนผสมเท่าไหร่ และมีการสังเคราะห์ยังไงบ้าง กระบวนการผลิตจะต้องยกระดับความปลอดภัยทั้งเริ่มต้นผลิต จนกระทั่งสิ้นสุดการผลิต
- บรรจุภัณฑ์ และการขนส่ง : บรรจุภัณฑ์จะต้องปิดสนิท การขนส่งจะต้องมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการบรรจุภัณฑ์จะต้องสามารถรีไซเคิล และย่อยสลายได้ ซึ่งจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในระยะยาว กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการสำคัญพอๆ กับขั้นตอนการผลิตเลยทีเดียว
- การใช้งานโดยผู้บริโภค : หากต้องการส่งเสริม Life Cycle Assessment จะต้องอาศัยรีวิวจากผู้บริโภคถึงความพึงพอใจ และให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการออกแบบอย่างยั่งยืน การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ ส่งผลให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมลดลง รวมถึงการใช้และการปล่อยวัสดุที่ไม่หมุนเวียนหรือเป็นพิษขณะบริโภค
- จุดสิ้นสุดหลังการใช้ : หลังการบริโภคและอุปโภค มีความปลอดภัยต่อสุขภาพหลังจากที่ทานอย่างไรบ้าง รวมถึงความพึงพอใจของประโยชน์เหล่านี้ ส่งผลต่อความต้องการทรัพยากรและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ การประเมินเหล่านี้แสดงถึงประโยชน์และต้นทุนทั้งหมดของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ ซึ่งช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเลือกโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต
- การกำจัดขยะ : ขั้นตอนนี้สำคัญมาก การกำจัดขยะหรือมลพิษที่เกิดขึ้น จะต้องมีกระบวนการคัดแยก หรือจำแนกขยะที่เหมาะสม จะต้องไม่มั่วกับขยะอันตรายเลย โดยการระบุและหาปริมาณพลังงานและวัสดุที่ใช้และของเสียที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม และเพื่อประเมินผลกระทบของพลังงานและวัสดุที่ใช้และปล่อย ว่าส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ใน Life Cycle Assessment คือ “การวิจัยและทดสอบ” แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาจดูเหมือนเป็นแนวคิดที่ชาญฉลาด แต่การมองลึกลงไปอาจเผยให้เห็นช่องโหว่ที่สำคัญ จึงมองว่ามันคือประโยชน์ที่ดีในการวิเคราะห์ และพัฒนาออกมาให้ดีขึ้น สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก
สรุปได้ว่า กว่าจะเป็น Life Cycle Assessment จะต้องศึกษาตัวแปรสำคัญเพื่อความยั่งยืนในการสร้างผลิตภัณฑ์ ในช่วงการเติบโตของกระบวนการผลิต ผู้บริโภคยอมรับผลิตภัณฑ์ในตลาด และลูกค้าเริ่มซื้ออย่างแท้จริง นั่นหมายความว่า ความต้องการและผลกำไรกำลังเติบโต หวังว่าจะก้าวอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนการเติบโตคือเมื่อตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์มีการขยายตัวและการแข่งขันเริ่มพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามตัวแปรที่สำคัญจะขาด “ผู้จัดการผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นบุคลากรในองค์กรไม่ได้เลย เพราะจะเกี่ยวข้องกับวงจรผลิตภัณฑ์ และกระบวนการโดยตรง มีหน้าที่สนับสนุนโครงการตลอดแต่ละขั้นตอน ทักษะและความต้องการความเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งจำเป็นในขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้เพื่อขับเคลื่อนการผลิตของผลิตภัณฑ์ไปข้างหน้า ให้เป็นสินค้าและบริการยอดนิยมรูปแบบหนึ่งสำหรับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งเป็นการเริ่มต้น การเติบโต ความเสถียร และอัตราการลดลงของสินค้าและบริการ ที่จะต้องคำนึงผลประโยชน์ต่อภาพรวม โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จะต้องไม่ก่อให้เป็นพิษหรืออันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ