Balena รองเท้าแตะที่ทำจากวัสดุ BioCir สามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักหมักคืนสู่ธรรมชาติ เพียง 6 เดือน ทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืน

บาเลนา (Balena) สตาร์ตอัปด้านวัสดุศาสตร์ ในเมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล และเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี พัฒนา “ไบโอเซอร์ (BioCir)” วัสดุที่ขึ้นรูปได้ดี และสามารถย่อยสลายได้ จึงนำมาต่อยอดเป็น รองเท้าแตะ “ไบโอเซอร์ สไลด์ (BioCir Slide)” มีความยืดหยุ่น เรียบลื่น และทนทาน ทดแทนการใช้พลาสติกและยางแบบเดิมที่มักพบในรองเท้าทั่วไป

วัสดุไบโอเซอร์เป็นวัสดุแบบอีลาสโตเมอร์ (Elastomer) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนสภาพให้เป็นของเหลวและนำกลับมารีไซเคิลใช้งานได้อีกครั้ง นอกจากนี้ ก็ยังช่วยลดมลพิษในการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิตได้อีกด้วย

สำหรับรองเท้าแตะบาเลนา เป็นรองเท้าที่ไม่มีสายรัด สวมใส่โดยการสไลด์เท้าเข้าไป มีให้เลือกหลายสี มีน้ำหนักเบา ใส่แล้วสบายเท้า ตัวรองเท้ามีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของอบเชย ซึ่งบริษัทใช้เป็นองค์ประกอบหลักของสารให้สีรองเท้าตามธรรมชาติ

ช่วงแรก จะผลิตออกมาวางขายจำนวน 1,000 คู่ และเริ่มจัดจำหน่ายชุดแรดในเมือง เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท

บาเลนาอธิบายว่า ลูกค้าที่ซื้อรองเท้าไป จะไม่ได้ศึกษาวิธีการย่อยสลายรองเท้าและเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักด้วยตนเอง เพราะทางบริษัทจะให้ลูกค้าส่งรองเท้าที่ไม่ใช้แล้วกลับมา เพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการหมักในโรงงานท้องถิ่น

รองเท้าทั้งหมดจะถูกกำจัดและทำปุ๋ยหมักอย่างถูกวิธี ซึ่งใช้เวลาย่อยสลายเพียง 6 เดือน นับว่าเป็นเวลาที่สั้นมาก หากเทียบกับเวลาการย่อยสลายของพลาสติกทั่วไปที่อาจจะใช้เวลาหลายร้อยปี

Balena

ปัจจุบัน มีแบรนด์แฟชั่นหลายแบรนด์ที่พยายามจะพัฒนาสินค้าของตนให้เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม เพราะปริมาณขยะจากอุตสาหกรรมแฟชั่นเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี โดยในปี 2022 เรามีขยะสิ่งทอจำนวน 92 ล้านตัน และมีเพียง 12% จากทั้งหมด ที่สามารถนำไปรีไซเคิ้ลได้

ถือได้ว่า วัสดุทางเลือกใหม่ของบาเลนาจะช่วยขับเคลื่อนให้วงการแฟชั่นนั้นมีความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และช่วยทำให้ผู้บริโภคให้คลายกังวลว่าตนเองจะสนับสนุนแบรนด์ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion)

เพราะการสวมใส่รองเท้าแตะคู่นี้ อนาคตจะมีประโยชน์แก่ดินและต้นไม้อย่างแน่นอน

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก esigntaxi

Upcycling คืออะไร

Previous article

7 คำศัพท์มาแรงเกี่ยวกับเทรนด์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต

Next article

You may also like

More in Bitesize