ปี 2023 สภาพอากาศจะสุดขั้วมากขึ้น ตลาดคาร์บอนเครดิตโตมากขึ้น สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์มากขึ้น และอีกมากมาย ปีนี้มี ประเด็นสิ่งแวดล้อม เด่นอะไรน่าจับตามองบ้าง ไปดู

ปี 2022 มีเรื่องราวใหม่ ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมผุดขึ้นมากมาย ทั้งด้านดีและไม่ดี ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็เกิด การค้นพบใหม่ ๆ และการเดินหน้าต่อไปด้วยความมั่งมั่นเพื่อสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้น แต่จะมีประสิทธิภาพมากขนาดไหนกันนะ?

ดังนั้น ปี 2023 คงเป็นอีกปีที่เราจะต้องเตรียมพร้อมรับแรงกระแทกให้มาก ๆ เนื่องจากปีนี้มีการคาดการณ์ว่า เราจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่คาดฝันอีกเยอะ โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่จะสาหัสมากขึ้น และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้อ่าน ผู้เขียนจึงขอสรุปเทรนด์ข่าวสารสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 นี้ที่เราจะต้องจับตามอง มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตเติบโตแบบก้าวกระโดด 400% ในไทย

กลไกตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มาแรงที่สุดในปีนี้ สปริงนิวส์ขอยกให้ ตลาดคาร์บอนมาแรงที่สุดสำหรับประเทศไทย แม้ต่างประเทศจะมีมานานแล้ว แต่สำหรับไทยนั้น นี่คือเทรนด์ใหม่ที่ปี 2022 เราพูดถึงกันมากที่สุด

คาร์บอนเครดิต คือ ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก จากชั้นบรรยากาศของโลก มาคำนวนเป็นค่าเครดิต ให้สามารถซื้อ-ขายได้ เหมือนเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง โดยหนึ่งเครดิต เท่ากับการสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน เพื่อขายให้กับประเทศพัฒนาแล้วประเทศอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เอกชนบางราย

โดยประเทศหรือหน่วยงานเหล่านี้จะซื้อ Carbon Credit ไป เพื่อใช้ขยายขอบเขตหรือชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง และคาร์บอนเครดิต จะมีส่วนสำคัญในการทำธุรกิจในอนาคตเป็นอย่างมาก และเป็นเทรนด์ที่ทุกภาคส่วนกำลังมุ่งไป

และในปี 2023 เชื่อว่าตลาดนี้จะขยายและเติบโตมากขึ้น จากความสนใจของภาคธุรกิจที่กำลังมองหาความยั่งยืนและเพื่อพิสูจน์ตัวตนว่าธุรกิจของตนนั้นรักษ์โลก

ข้อสรุปกองทุน Loss and Damage ประเทศร่ำรวยช่วยประเทศยากจนยังไง?

เมื่อปลายปี 2022 ผู้นำทั่วโลกได้เข้าร่วมงานประชุมระดับชาติ COP27 หรือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 ที่จัดขึ้น ณ เมืองชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ ผู้นำและตัวแทนแต่ละประเทศทั่วโลก ได้ออกมานำเสนอนโยบายของประเทศตนเองว่ามีนโยบายหรือโครงการอะไรบ้างที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น

เพื่อไม่ให้โลกมีอุณหภูมิไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามคำแนะนำของนักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศทั่วโลก หนึ่งเหตุผลสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ การเงินที่ประเทศร่ำรวยต้องชดใช้ให้กับประเทศยากจน ในฐานะผู้ก่อมลพิษมากที่สุดและส่งผลกระทบต่อประเทศเปราะบาง จึงได้มีการก่อตั้งกองทุนชดเชยการสูญเสียและความเสียหายขึ้น (Loss and Damage Fund)

แต่การจัดตั้งกองทุนนี้ยังดุไม่แน่นอนและยังไม่ได้เริ่มหาข้อตกลงในการรวมทุนเพื่อช่วยเหลือกันอย่างเป็นทางการนัก และในความเป็นจริงกองทุนนี้มีมานานแล้วหลายปี แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ เนื่องจากการไร้ความรับผิดชอบของประเทศที่สัญญาเอาไว้

ในตอนนั้นมีการทำข้อตกลงว่าประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศร่ำรวยจะต้องนวมเงินในกองทุนให้ได้ 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี แต่ที่ผ่านมา เงินในกองทุนไม่เคยถึงและไม่เคยพอแม้กระทั่งในปีนี้เองก็ตาม เงินทุนเพื่อบรรเทาภัยด้านนี้ยังคงน้อยกว่าวิกฤตใด ๆ อีกทั้ง มีการรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า เงินที่อยู่ในกองทุนบางส่วนนั้นไม่ใช่เงินให้เปล่า แต่เป็นเงินที่กู้ยืมมาในดอกเบี้ยต่ำอีกต่างหาก จึงทำให้กองทุนนี้ดูไม่น่าเชื่อถือ

แต่หลังจากการประชุม COP27 ที่จะให้มีการจัดตั้งกองทุนใหม่นั้น ทำให้เราต้องจับตามองกันอีกรอบว่ากองทุนนี้จะสำเร็จหรือไม่ และประเทศไหนบ้างที่จะต้องชดใช้ ประเทศไหนบ้างที่จะได้รับการเยียวยา มาติดตามไปพร้อมกันได้ทุกช่องทางของทางสปริงนิวส์

สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้น

ในปี 2023 ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา โดยเฉพาะปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะรุนแรงอย่างมากในปีครึ่งปีหลัง แล้วโลกเราพร้อมรับมือจริงเหรอ?

ปี 2022 นี้เอง ข้อมูลจาก NASA เผยว่า เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ในโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สภาพอากาศของโลกจะไม่ธรรมดาอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากรูปแบบภูมิอากาศที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน หรือที่เรียกว่า ENSO (El Niño Southern Oscillation) นั้นอยู่ในช่วงที่เย็นลง ในช่วงนี้เรียกว่าลานีญา น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะเย็นกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบสภาพอากาศทั่วโลก

ประเด็นสิ่งแวดล้อม 5 เรื่องที่น่าจับตามองในปี 2023

การคาดการณ์ล่าสุดได้บ่งชี้ว่า ลานีญา จะยังคงดำเนินการต่อไปในต้นปี 2023 ซึ่งจะยังทำให้เราโชคดีอยู่บ้าง แต่หลังจากนั้นจะเริ่มอุ่นขึ้น และปี 2023 ก็ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติการณ์มากกว่าปีนี้ จากปรากฎการณ์ เอลนีโญ

และข้อมูลจาก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ก็ยังได้บอกข้อมูลที่ตรงกันด้วยว่า สภาพภูมิอากาศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เราเผชิญหน้ากับลานิญา หรือปีเปียกที่มีความเย็น และจะกลับเข้าความความปกติในปีหน้า แต่ครึ่งปีท้ายของปี 2566 นั้นประเทศไทยจะเผชิญหน้ากับเอลนีโญ ความร้อนและภัยแล้งที่อาจรุนแรงสุดในรอบ 10 ปี

ราจะเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนสุดโต่งไปทั่วโลก เช่น ปีนี้คลื่นความร้อนรุนแรงในหลายประเทศจนทำให้ผู้คนล้มตาย หลายประเทศประกาศร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ ท้ายปีแบบนี้ก็มีปรากฎการณ์พายุหิมะในแถบอเมริกาจนมีผู้เสียชีวิตเช่นเดียว โลกของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว

อาชีพสายสิ่งแวดล้อมมาแรง

ในโลกของการทำงานยุคปัจจุบัน เรามีการถกเถียงกันในเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ สิ่งอำนวยความสะดวกที่พนักงานควรได้รับ Life Balance ฯลฯ ในขณะที่เรากำลังถกเถียงคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว (มั้ง) ในเมืองใหญ่ เรามาลองดูเทรนด์อาชีพสุดปังในอนาคตกันหน่อยดีกว่า

ผู้เขียนสามารถบอกได้เต็มปากเลยว่า Green Economy หรือ Green Investment กำลังมาแรงเลยทีเดียวสำหรับในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อีกทั้ง การประชุมทั่วโลกมักจะต้องมีการพ่วงหัวข้อเรื่อง Climate Change, Sustainable และ Environment เข้าไปด้วยเสมอ เกือบทุก ๆ การประชุม นั่นหมายความว่า ธุรกิจสีเขียวกำลังมาแรงเป็นที่สุด แต่การที่จะหาคนมาดำรงในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับ Green Economy ได้นั้นยังยาก เนื่องจากเป็นเนื้อหาใหม่ และมีน้อยมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย

ดังนั้นใครกำลังมองหางานใหม่ หรือความท้าทายทักษะการทำงานใหม่ ๆ ลองศึกษาสายอาชีพด้านสิ่งแวดล้อมดูหน่อยไหม

การวิพาษก์วิจารณ์การฟอกเขียวและประเด็นความยั่งยืน

แน่นอนว่า การที่องค์กรเอกชนหรือกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีนโยบายที่เป็นมิตรต่อโลกมากมายเต็มไปหมด ด้วยการเปลี่ยนที่ฉับพลันของเทรนด์ รวมถึงกลไกของตลาดคาร์บอนเครดิตที่มาแรง จึงทำให้ธุรกิจที่ดำเนินการตาม ESG หรือเพื่อสิ่งแวดล้อมถูกนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมองว่า พวกเขากำลังฟอกเขียว

ประเด็นสิ่งแวดล้อม 5 เรื่องที่น่าจับตามองในปี 2023

ยกตัวอย่าง การประชุม COP27 เกรตา ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) นักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศก้ได้พูดถึงการประชุม COP27 ว่า เป็นงานฟอกเขียว เพราะเธอมองว่า งานนี้เป็นเพียงแค่โอกาสสำหรับ ผู้มีอำนาจ เพื่อที่จะสามารถฟอกเขียวได้ อีกทั้งยังมีแต่คำโกหกและการโกงจากกงานนี้ด้วย

หรือจะเป็นงาน APEC ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ กรีนพีซ ประเทศไทย ก้ได้จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์บริเวณสระน้ำในสวนเบญจกิติฯ ใกล้เคียง ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติติ์ โดยนักกิจกรรม 4 คนได้ลงไป ในสระน้ำ พร้อมชูป้าย STOP APEC / เอเปค หยุด ฟอกเขียว เพื่อเรียกร้องให้ผู้ร่วมการประชุมเห็นความสำคัญของสภาพภูมิอากาศ

ซึ่งเชื่อว่า ในวงกว้างของปี 2023 จะเกิดการวิพารก์วิจารณ์ถึงการลงทุนสีเขียวของภาคธุรกิจเอกชนกันมากขึ้น ว่าจัดทำนโยบายรักษ์โลกเพื่อเอาหน้าหรือเปล่า จึงต้องติดตามดูกันต่อไป

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าจับตามองอีกมากมาย อาทิ สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์เพิ่มอีกจำนวนมาก สถิติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน สิทธิมนุษยชนท้องถิ่นกับทรัพยากรทางธรรมชาติ กฎหมายหรือกติกาใหม่ของโลก การจัดการขยะพลาสติก พลังงานสะอาด พลังงานไฮโดรเจน ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าและลิเธียม และวิกฤตอาหารโลก เป็นต้น

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก springnews

ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน การลงทุนที่ยั่งยืนในปี 2023

Previous article

ทำไมแฟชั่นถึงไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

Next article

You may also like

More in Bitesize