รู้จัก “เชื้อเพลิงฟอสซิล” ต้นทางของการสร้างมลภาวะทางอากาศ อีกทั้งเป็นตัวการหลักที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ “ภาวะโลกร้อน

นับตั้งแต่เคยเกิดการชุมนุมขึ้น #LetTheEarthBreath ที่มีผู้ชุมนุมออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษยุติโครงการ “เชื้อเพลิงฟอสซิล” แห่งใหม่ จนกลายเป็นกระแสร้อนแรงในโลกโซเชียล โดยแฮชแท็กดังกล่าวติดเทรนด์ทวิตเตอร์​ไทย ทำให้ประเด็น “ภาวะโลกร้อน” ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง บางคนอาจจะสงสัยว่า “เชื้อเพลิง ฟอสซิล” มาเกี่ยวข้องกับปัญหา “โลกร้อน” ได้อย่างไร? ทำไมชาวเน็ตทั่วโลกถึงพร้อมใจกันออกมารณรงค์ให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงดังกล่าว

ชวนไป ทำความรู้จัก เชื้อเพลิง ฟอสซิล” ให้มากขึ้น พร้อมส่องข้อดีและข้อเสียว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?

1. “เชื้อเพลิงฟอสซิล” คืออะไร?

เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel) คือ อินทรีย์สารใต้พื้นโลกที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ใต้ทะเลลึก หมักหมมทับถมเป็นเวลาหลายพันล้านปีก่อน พร้อมกับได้รับความร้อนจากใต้พื้นพิภพ

ทำให้ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันหนาแน่นใต้ชั้นหินตะกอน เกิดการย่อยสลายกลายเป็นแหล่งสะสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) ขนาดใหญ่ ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง และแหล่งกำเนิดพลังงานต่างๆ

เชื้อเพลิงฟอสซิล

2. เชื้อเพลิงฟอสซิลมี 3 ประเภท นำไปใช้งานแตกต่างกัน

  • ถ่านหิน (Coal)

ถ่านหิน เป็นหินตะกอนสีน้ำตาลดำ เกิดจากซากพืชในพื้นที่ชื้นแฉะทับถมกันเป็นเวลานาน (ราว 300 ถึง 360 ล้านปี) ภายใต้แรงดันและความร้อนสูงที่อยู่ลึกลงไปจากพื้นผิวโลก ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายและเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในสถานะของแข็ง

ถ่านหินแบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ พีต (Peat), ลิกไนต์ (Lignite), ซับบิทูมินัส (Sub-Bituminous), บิทูมินัส (Bituminous) และแอนทราไซต์ (Anthracite)

การนำมาใช้ประโยชน์: เป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย

ผู้ผลิตหลัก: จีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา

  • น้ำมันดิบ (Crude oil)

น้ำมันดิบ ประกอบด้วยคาร์บอน (Carbon) และไฮโดรเจน (Hydrogen) เป็นองค์ประกอบหลักมีสถานะเป็นของเหลวที่มีสีสันหลากหลาย และมีอัตราความหนืดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมี น้ำมันดิบส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นในช่วง 66 – 252 ล้านปีก่อน โดยเกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ใต้ท้องทะเลในอดีต

การนำมาใช้ประโยชน์: น้ำมันดิบต้องนำไปผ่านกระบวนการกลั่นและกระบวนการผลิตแยกส่วน กลายเป็น “ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม” หลายชนิด เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันเตา

ผู้ผลิตหลัก: สหรัฐอเมริกา ซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย

  • ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas)

ก๊าซธรรมชาติไร้สีและไร้กลิ่น ประกอบด้วยมีเทน (Methane) เป็นหลัก เกิดจากกระบวนการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตใต้พื้นดินเมื่อหลายล้านปีก่อนเช่นเดียวกับถ่านหินและน้ำมันดิบ

การนำมาใช้ประโยชน์: ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสะอาด เนื่องจากมีกระบวนการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญ

ผู้ผลิตหลัก: สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และอิหร่าน

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากกระบวนการแยกส่วนในการกลั่นน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงฟอสซิล ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น พลาสติก ผงซักฟอก ยางสังเคราะห์ ปุ๋ยเคมี และกาว เป็นต้น

3. เชื้อเพลิงฟอสซิล เกี่ยวข้องกับ “ภาวะโลกร้อน” ยังไง?

เมื่อเชื้อเพลิงฟอสซิลถูกเผาไหม้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ผลผลิตสุดท้ายที่ปล่อยออกมาคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก

ก๊าซเหล่านี้มีความสามารถในการดักจับและกักเก็บความร้อนได้ดี ส่งผลให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” (Global warming) และ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Climate change) ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลกในขณะนี้

โดยเฉพาะการเผาไหม้ถ่านหินและน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกมากกว่าร้อยละ 75 ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา

แม้ว่าการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้บ้าง แต่ในกระบวนการสำรวจ ขุดเจาะ และขนส่งเชื้อเพลิงฟอสซิล ยังคงสร้างผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมของโลก

4. ข้อดี-ข้อเสีย ของ “เชื้อเพลิงฟอสซิล”

ข้อดี : ขนส่งง่าย หาซื้อได้ง่าย มีต้นทุนในการผลิตต่ำ และมีปริมาณสำรองมาก สามารถขุดเจาะและนำมาใช้เป็นเชื้อเพลงได้ไม่ต่ำกว่า 220 ปี

ข้อเสีย : การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล มีผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม นั่นคือ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน โดยเกือบ 80% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งสิ้น

อีกทั้งยังผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ นั่นคือ ก๊าซพิษเหล่านี้เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกี่ยวกับปอด

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก ngthairenovablesverdesthaipbs 

“Blue Carbon”สู่คาร์บอนเครดิต บางจากศึกษา“หญ้าทะเล”ลดโลกร้อน

Previous article

10 Sustainability Innovations Change the world

Next article

You may also like

More in Bitesize