Life

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน

ขยะพลาสติก ใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นขยะที่มีจำนวนมาก กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะไหลไปกองรวมกันในมหาสมุทร ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์ ทุกคนรู้ดีว่าพลาสติกมีประโยชน์มากมาย แต่โทษของมันก็มากมายเกินจะบรรยาย โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastics) ที่มีจำนวนมาก และได้ออกเดินทางไปทั่วโลก โดยเฉพาะไหลไปกองรวมกันในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพของมนุษย์ รู้หรือไม่ว่า ในทุกนาทีขวดพลาสติกจะถูกซื้อจากผู้บริโภคในรูปของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มและอื่นๆ ทั่วโลก 1 ล้านขวด ...
TOP STORIES

ไอเดีย ลอยกระทง ทางเลือกใหม่ เป็นคุณจะลอยแบบไหนในยุคโลกร้อน

แม้จะมีทางเลือกใหม่ในการ ลอยกระทง แต่ปริมาณกระทงที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เก็บได้หลังเทศกาลในรอบ 5 ปี ยังคงเฉียด 1 ล้านใบทุกปี โดยกว่าร้อยละ 90 เป็นกระทงที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายได้ ทั้งนี้ยังไม่รวมจำนวนกระทงในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเทศกาล ลอยกระทง ปี 2561 กทม. จัดเก็บกระทงได้ 841,327 ...
Bitesize

โลกร้อนเป็นเหตุอีกแล้ว หิมะแรกภูเขาไฟฟูจิยังไม่มา ช้าสุดในรอบ 130 ปี!

โลกร้อน ปี 2024 กลายเป็นปีที่หิมะแรกมาเยือนภูเขาไฟฟูจิล่าช้าที่สุดในรอบ 130 ปี เจ้าหน้าที่อุตุฯ เชื่อเกิดจากอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ ในแต่ละปี ชาวญี่ปุ่นมักมีวิธีดูง่าย ๆ ว่าพวกเขาเข้าสู่ฤดูหนาวหรือยังด้วยการสังเกตว่า “ภูเขาไฟฟูจิ” แลนด์มาร์กสำคัญของประเทศ ได้สัมผัสกับ “หิมะแรก” ของปีแล้วหรือยัง โดยเฉลี่ยหิมะแรกของภูเขาไฟฟูจิมักมาตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. หรือ ต้นเดือน ต.ค. และเคยมาช้าที่สุดคือวันที่ ...
Bitesize

Food Waste ขยะฟักทองวันฮาโลวีน ผีร้ายตามหลอนหลังเทศกาล

เชื่อหรือไม่ว่า 95% ของ “ฟักทอง” ไอเทมหลอนช่วงเทศกาลฮาโลวีน ถูกทิ้งอย่างไร้ค่า ปล่อยก๊าซมีเทนสร้างก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า! ทุกๆ ปีผีร้ายวันฮาโลวีนจะจบไปในรุ่งเช้า ขณะที่ผีร้ายที่ตามหลอกหลอนสิ่งแวดล้อมยังคงอยู่ต่อเนื่อง ก่อเกิดผลกระทบกับโลกแบบที่หลายคนคาดไม่ถึง ขยะวันฮาโลวีน คิดเป็นน้ำหนัก 18,000 ตันของขยะอาหารเหลือทิ้ง ข้อมูลจาก World Economic Forum เผยว่าร้อยละ 95 ของฟักทองกว่า 10 ...
Life

21 ตุลาคม วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ เพราะต้นไม้ให้เรามากกว่าแค่ร่มเงา แต่ให้ชีวิตแก่เรา

ต้นไม้หนึ่งต้นบางคนอาจไม่เห็นคุณค่าของมัน แต่ถ้ามันรวมกันอยู่หลายต้น มันคือผืนป่า ที่มอบชีวิตให้แก่เรา วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี จึงเป็น วันรักต้นไม้ ประจำปีของชาติ ที่จะปลูกฝังให้ทุกคนมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของต้นไม้ เบื้องหลังการเกิดขึ้นของวันรักต้นไม้ประจำปีของชาตินั้น เริ่มต้นขึ้นจาก ปณิธานอันแรงกล้าของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการจะฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติ ทรงปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ด้วยพระองค์มาตลอดพระชนม์ ทั้งนี้ทรงให้ความสำคัญในการบำรุงรักษามากกว่าการปลูก และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และความสำคัญของต้นไม้แก่องค์กรต่าง ๆ ตลอดจนผสกนิกรคนไทยให้ช่วยกันดูแลรักษาและให้ความสำคัญกับต้นไม้และพันธุ์พืชอยู่เสมอมา ด้วยเหตุนี้เอง ...
Life

เก็บภาษีคาร์บอน ผู้สร้างมลพิษมีราคาต้องจ่าย บีบใช้พลังงานสะอาด

คลังเสนอ ครม.ภายใน ต.ค. นี้ให้มีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนธุรกิจน้ำมัน แบตเตอรี เพื่อดันไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ คาดพ.ร.บโลกร้อนบังคับใช้ได้ในปี 2569 นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายการเงินสีเขียว รับมือภาวะโลกเดือด” ในงานสัมมนา “Road to Net Zero 2024 The Extraordinary Green” ตอนหนึ่งว่า ...
Bitesize

โอโซน คำนี้สำคัญอย่างไร ทำไมถึงเกี่ยวข้องกับโลกร้อน

วันโอโซนโลก หรือ “World Ozone Day” ตรงกับวันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็นวันที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของโอโซนที่มีหน้าที่ในการปกป้องชั้นบรรยากาศของโลกจากรังสียูวี และเพื่อรำลึกถึงการลงนามในพิธีสารมอนทรีออลในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1987 ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างประเทศในการลดการผลิตและการใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนธรรมชาติ เราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับโอโซนให้มากขึ้น ว่าทำไมถึงต้องมีการตั้งวันโอโซนโลกขึ้น โอโซนมีกี่ประเภท โอโซนมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร รวมไปถึงประโยชน์ของโทรโพสเฟียร์ที่มีต่อโลก พร้อมกับจะมาแชร์วิธีการช่วยโลกในวันโอโซนโลก ถ้าพร้อมแล้วเรามาทำความรู้จักวันนี้ไปด้วยกันเลย! “โอโซน” ...
Bitesize

Vaquita โลมาวากีตา ใกล้สูญพันธุ์ของ หลังพบว่ามีเพียง 10 ตัวเท่านั้น

องค์กรล่าวาฬระหว่างประเทศ (IWC) ออกประกาศเตือนการสูญพันธุ์ของ ‘โลมาวากีตา’ ครั้งแรก หลังพบว่ามีเพียง 10 ตัวเท่านั้นที่รอดชีวิต โลมาวากีตา Vaquita เป็นหนึ่งในสัตว์จำพวก Cetacean (วาฬ) เป็นสัตว์ท้องถิ่นที่อาศัยอยู่เฉพาะในอ่าวแคลิฟอร์เนีย ประเทศเม็กซิโก IWC ยืนยันว่าปัจจุบันพวกมันมีประชากรเหลือเพียง 10 ตัวเท่านั้น สาเหตุที่จำนวนโลมาวากีตา Vaquita ลดลงมาจากการประมง เพราะพื้นที่ที่พวกมันอาศัยอยู่นั้นมีปลาโทโทอาบา (Totoaba) ที่มีความต้องการในตลาดมืดสูงมากอาศัยอยู่ ปลาโทโทอาบาที่จับได้จะถูกแยกเอาเฉพาะกระเพาะไปขายในจีนเพื่อใช้เป็นยารักษาโรค แม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนก็ตาม จนได้ฉายาว่าเป็น “โคเคนแห่งท้องทะเล” ความโชคร้ายของโลมาวากีตาคือ ติดอวนปลาโทโทอาบาแล้วออกมาไม่ได้จนตายในที่สุด จากการสำรวจในปี ...
พายุ
Bitesize

เตรียมรับมือพายุโซนร้อน ถล่มอีสาน 20-23 ก.ย.นี้ กรุงเทพฯ ฝนตกหนัก

น้ำท่วม ยังไม่หยุด เพราะยังมีพายุดีเปรสชั่นแรงทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะภาคอีสานตอยบน ส่งผลมาถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วง 20-23 ก.ย.นี้ ช่วงวันที่ 19-21 ก.ย. 2567 กรมอุตุฯ พยากรณ์ว่า ร่องมรสุมเลื่อนต่ำลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคอีสาน เข้าสู่พายุดีเปรสชันที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งพายุนี้คาดว่าจะแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้ เนื่องจากยังอยู่ในทะเล และจะเคลื่อนตัวทางตะวันตก เข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ...
Bitesize

ปลาหมอคางดำ เอเลี่ยนสปีชีส์ที่กำลังทำลายระบบนิเวศ

ปลาหมอคางดำ เอเลี่ยนสปีชีส์ที่กำลังระบาดอยู่ในหลายจังหวัดและเป็นตัวการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ในระบบอาหารของประเทศในขณะนี้ ข้อมูลจากกรมประมงล่าสุด ระบุว่า ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin tilapia) หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ (Sorotheodon Melanotheron) เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (Alien Species) กระจายไปใน 13 จังหวัดชายฝั่งแถบอ่าวไทย ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพราะพวกมันกินลูกปลา ลูกกุ้ง และลูกหอยเป็นอาหาร ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่มีบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ เนื่องจากปลาหมอชนิดนี้มันร้ายกาจสามารถอยู่ได้ทั้งสภาพน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ...

Posts navigation