ก๊าซมีเทน ตัวการทำ โลกร้อน

ภาวะ โลกร้อน ที่ถูกพูดถึงมาอย่างยาวนาน ท่ามกลางความพยายามแก้ไขของหลายฝ่าย แต่ยิ่งโลกเจริญมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนว่ากิจกรรมของมนุษย์ที่กระทำต่อโลกไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย นับตั้งแต่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา การปล่อยก๊าซมีเทนก็เพิ่มระดับขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นเท่าตัว เป็นที่ทราบกันดีว่าอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นมีผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ในขณะที่ก๊าซมีเทนถูกจัดให้อยู่ในอันดับสองรองลงมา​

แต่รายงานจากเว็บไซต์ Environmental Defense Fund ระบุว่า ก๊าซมีเทนทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่า ในขณะที่ปัจจุบันพบว่าโลกร้อนขึ้นเพราะก๊าซมีเทนถึง ร้อยละ 25

ทั้งนี้ ก๊าซมีเทนที่ถูกปล่อยให้อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกจะมีอายุอยู่ราวๆ 10 ปี ก่อนที่จะเสื่อมสลายไป ขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานกว่าถึง 100 ปี แต่มีอานุภาพน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปล่อยให้ก๊าซมีเทนสูญสลายไปเอง เพราะถ้าต้องรอถึง 10 ปีโดยที่ไม่มีการแก้ไข โลกอาจจะถูกแผดเผาจากความร้อนของการปล่อยก๊าซพิษนี้ก่อนมันจะเสื่อมสลายไปเสียอีก และวันนั้นอาจจะกลายเป็นวันสิ้นโลกก็เป็นได้

ฉะนั้น ความพยายามในการลดระดับการปล่อยก๊าซมีเทน เริ่มเห็นชัดมากขึ้นพอๆ กับความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การเพิ่มความร่วมมือที่มากขึ้นของประเทศสมาชิกในข้อตกลงปารีส หรือแม้แต่การเปลี่ยนจากการใช้พลังงานถ่านหินและฟอสซิลมาเป็นพลังงานสะอาดทดแทนที่ยั่งยืนและมั่นคงมากกว่า

อย่างรายงานการประชุมล่าสุดของทบวงพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA เผยข่าวดีในเหตุการณ์ร้ายๆ ของสงครามรัสเซีย-ยูเครน สืบเนื่องจากการขาดแคลนพลังงานฟอสซิลและก๊าซธรรมชาติ ทำให้หลายประเทศเริ่มคิดที่จะลงทุนอย่างจริงจังกับโครงการพลังงานสะอาด โดย IEA คาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 นับตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงปี 2030 และจะเป็นยุคอวสานของน้ำมันในที่สุดด้วย ในขณะที่ IEA ยังหยิบยกฉากทัศน์ในปี 2050 ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ เวลานั้นจะแตะระดับ 0 ซึ่งจะมีผลทำให้อุณหภูมิโลกอยู่ในระดับที่ข้อตกลงปารีสต้องการคือ 1.5 องศาเซลเซียส

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก pptvhd36

โฮมโปร คว้ารางวัลด้านความยั่งยืน Commended Sustainability Awards ในงานประกาศผลรางวัล SET Awards 2022 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Previous article

พลังงานไฮโดรเจนดีอย่างไร

Next article

You may also like

More in Bitesize