Circular Mark

ครั้งแรกของโลก!! กับการประกาศใช้ “Circular Mark” ฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน

เปิดตัวแล้ว… “CIRCULAR MARK” สัญลักษณ์ที่แสดงถึงผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่ผ่านการรับรอง ตอกย้ำความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพของสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการ เป็นการรับประกันว่า มีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เกิดการหมุนเวียนของวัสดุ มีกระบวนการผลิตมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากเป้าหมายในการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นวาระแห่งชาติ   บพข. ได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน “CIRCULAR MARK” ซึ่งเป็นระบบรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคและระดับโลก โดยมี รศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อนำไปสู่การปิดช่องว่างและเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องหลักใน value chain ตั้งแต่เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้รีไซเคิล เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทยตามเป้าหมาบย โดยเน้น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ เกษตรอาหาร, วัสดุก่อสร้าง, พลาสติก, บรรจุภัณฑ์, และ แฟชั่นไลฟสไตล์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการตลาด เป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยทำการตลาดในวงกว้าง ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์สินค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา บพข. ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (วีกรีน) คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน หรือ กลุ่ม PPP Plastics ในการจัดงานแถลงข่าว CIRCULAR MARK, CIRCULAR ECONOMY IN ACTION” เพื่อส่งมอบต้นแบบระบบฉลากผลิตภัณฑ์สิ่งแวดล้อมแก่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นผู้ดำเนินการต่อ และได้มีการลงนามใน MOU ระหว่าง บพข. ร่วมกับ มสท. สมอ. กพร. สอท. ในการพัฒนา CIRCULAR MARK เป็นมาตรฐานและระบบรับรองระดับชาติ พร้อมทั้งได้มีพิธีมอบใบรับรอง CIRCULAR MARK ให้กับบริษัทนำร่อง 30 บริษัท กับอีก 376 ผลิตภัณฑ์ ที่กลายมาเป็น Leading Circular Company ของประเทศ

นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการเสวนาถึงแนวทางการพัฒนา Circular Mark สู่มาตรฐานและระบบรับรองระดับชาติ โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นายเอกนิติ รมยานนท์ รองเลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นายกฤษดา เรืองโชติวิทย์ คณะทำงาน กกร. ด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน

ในตอนท้ายของการเสวนา รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการ บพข. ได้กล่าวว่า “บพข. พร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการปิดช่องว่างกลไกการตรวจสอบรับรองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีงบประมาณ 2566 นี้ บพข. มุ่งเน้นสนันสนุนทุนโครงการวิจัยทางด้าน Circular Economy เพื่อปิดช่องว่างและเชื่อมโยงให้เกิดการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย หากหน่วยงานใดประสงค์ที่จะขอทุนสนับสนุนโครงการอันไม่ใช่งานปกติแต่เดิมของหน่วยงานนั้นอยู่แล้ว แต่เป็นงานที่ต้องการดำเนินการเพื่อขอการตรวจสอบรับรอง หรือเป็นงานที่ต้องทำร่วมกันกับหลายหน่วยงาน บพข. มีความยินดีที่จะพิจารณาเพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้”

จากเป้าหมายในการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นวาระแห่งชาติ   บพข. ได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน “CIRCULAR MARK” ซึ่งเป็นระบบรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคและระดับโลก โดยมี รศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อนำไปสู่การปิดช่องว่างและเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องหลักใน value chain ตั้งแต่เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้รีไซเคิล เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทยตามเป้าหมาบย โดยเน้น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ เกษตรอาหาร, วัสดุก่อสร้าง, พลาสติก, บรรจุภัณฑ์, และ แฟชั่นไลฟสไตล์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการตลาด เป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยทำการตลาดในวงกว้าง ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์สินค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา บพข. ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (วีกรีน) คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน หรือ กลุ่ม PPP Plastics ในการจัดงานแถลงข่าว CIRCULAR MARK, CIRCULAR ECONOMY IN ACTION” เพื่อส่งมอบต้นแบบระบบฉลากผลิตภัณฑ์สิ่งแวดล้อมแก่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นผู้ดำเนินการต่อ และได้มีการลงนามใน MOU ระหว่าง บพข. ร่วมกับ มสท. สมอ. กพร. สอท. ในการพัฒนา CIRCULAR MARK เป็นมาตรฐานและระบบรับรองระดับชาติ พร้อมทั้งได้มีพิธีมอบใบรับรอง CIRCULAR MARK ให้กับบริษัทนำร่อง 30 บริษัท กับอีก 376 ผลิตภัณฑ์ ที่กลายมาเป็น Leading Circular Company ของประเทศ

นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการเสวนาถึงแนวทางการพัฒนา Circular Mark สู่มาตรฐานและระบบรับรองระดับชาติ โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นายเอกนิติ รมยานนท์ รองเลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นายกฤษดา เรืองโชติวิทย์ คณะทำงาน กกร. ด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน

ในตอนท้ายของการเสวนา รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการ บพข. ได้กล่าวว่า “บพข. พร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการปิดช่องว่างกลไกการตรวจสอบรับรองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีงบประมาณ 2566 นี้ บพข. มุ่งเน้นสนันสนุนทุนโครงการวิจัยทางด้าน Circular Economy เพื่อปิดช่องว่างและเชื่อมโยงให้เกิดการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย หากหน่วยงานใดประสงค์ที่จะขอทุนสนับสนุนโครงการอันไม่ใช่งานปกติแต่เดิมของหน่วยงานนั้นอยู่แล้ว แต่เป็นงานที่ต้องการดำเนินการเพื่อขอการตรวจสอบรับรอง หรือเป็นงานที่ต้องทำร่วมกันกับหลายหน่วยงาน บพข. มีความยินดีที่จะพิจารณาเพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้”

ระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน “CIRCULAR MARK” มีการพิจารณาข้อกำหนดที่ครอบคลุมประเด็นปัญหาการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง การเกิดขยะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ โดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มุ่งเป้าส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมุนเวียนในระบบเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดปริมาณขยะ และ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ ช่วยสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมไทยและประชาคมโลก

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจอยากเข้าร่วมโครงการเพื่อขอ CIRCULAR MARK รับรองผลิตภัณฑ์ของท่าน สามารถติดต่อถามเพิ่มเติมได้ที่มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) โทร. 0 2503 3333 อีเมล info@tei.or.th

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

ยูนิโคล่ บริษัทยั่งยืน ใช้พลังงานสะอาด ลดขยะเป็นศูนย์

Previous article

เปิดโครงการ “PAUL FRANK CLEAN UP THE BEACH” เซิร์ฟไปด้วย รักษ์โลกไปด้วย!

Next article

You may also like

More in What' New