PM-2.5

ภัยธรรมชาติ : ช่วงแรกๆ หลายคนตื่นตระหนักเรื่องของฝุ่น PM 2.5 กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนการมาของโควิด-19 ทำให้เรื่องของฝุ่น PM 2.5 ค่อยๆ ถูกลืมไป… บางคนอาจจะคิดว่ามันได้หายไปจากโลกของเราแล้ว

แต่รู้หรือไหม PM 2.5 นั้นยังอยู่รอบตัวเรา ลอยอยู่ในอากาศ เพราะฉะนั้น วันนี้ The Sustain จะขอมาย้ำเตือนถึงพิษภัยร้ายที่ห้ามมองข้าม ที่ส่งผลร้ายมากกว่าที่คุณคิด ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพปอด แต่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ และเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย!

ภัยธรรมชาติ พืชพรรณในม่านฝุ่น

ภัยธรรมชาติ

ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ไม่ได้มีผลกระทบกับแค่คน แต่กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น พืช ก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน ศ.ดร.เสริม จันทร์ฉาย คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันค่าความเข้มของแสงอาทิตย์ลดน้อยลง จึงมีผลต่อพืชที่ต้องสังเคราะห์แสง

“การที่ความเข้มแสงอาทิตย์ลดลงเรายังไม่รู้ว่ามีผลกระทบถึงขนาดไหน แต่มีแน่นอน เพราะพืชผลสังเคราะห์แสงได้น้อยลง นั่นหมายความว่าพืชกินอาหารได้น้อยลง”

ศ.ดร.เสริม อธิบายเพิ่มเติมว่า พืชผลการเกษตรบางชนิดไวต่อแสงมาก เช่น ข้าวหอมมะลิ ที่ต้องปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เมื่อแสงอาทิตย์ลดความเข้มลงต่อไปทุ่งกุลาร้องไห้อาจไม่มีข้าวหอมมะลิดีๆ ก็เป็นได้ ถึงเรื่องนี้อาจารย์บอกว่ายังไม่มีข้อมูลวิจัยที่ชัดเจน แต่มั่นใจได้ว่ามีผลกระทบแน่นอน

“ผมวัดมา 20 กว่าปี พบแนวโน้มว่าความเข้มแสงอาทิตย์ลดลง 1-2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อคำนวณย้อนกลับพบว่าเป็นผลจากฝุ่นละออง หากมีมากๆ จะไปบดบังแสงไม่ให้ลงมา หากลดลงเพียง 5-6 เปอร์เซ็นต์ อาจส่งผลให้ข้าวไม่ออกรวง

ทั่วไปแล้ว พืชต้องสังเคราะห์แสง ถ้าแสงเปลี่ยนไป มันกระทบกระเทือนต่อพืช แต่กระทบแค่ไหนต้องวิจัยกันต่อไป ซึ่งผมเป็นคนทำงานด้านฟิสิกส์จึงดูระดับแสง พอระดับแสงลดลงก็รู้สึกกังวลใจ ถ้าจะให้ลึกต้องทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยด้านเกษตร แต่ผลกระทบก็คงไม่ถึงขั้นพืชชนิดนั้นกลายพันธุ์หรือสูญพันธุ์ แต่ปริมาณจะลดลงแน่นอน”

นอกจากนี้เขายังบอกว่าพฤติกรรมของคนในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมเผาป่าและเศษวัสดุการเกษตร ทำให้เกิดฝุ่นละออง (aerosol) ที่ดูดกลืนแสงอาทิตย์

แม้ประเด็นนี้จะไม่ใช่ผลกระทบโดยตรงต่อคนในบริบทสุขภาพ เช่น มีอาการผิดปกติทางร่างกาย แต่ในแง่ความมั่นคงทางอาหารเรากำลังถูกฝุ่นละอองคุกคาม ยังไม่นับเรื่องการเพาะปลูกเพื่อการค้าที่จะได้ผลผลิตน้อยลง รายได้น้อยลง

ยิ่งไปกว่านั้นภาคการส่งออกอาจสั่นคลอน จากความเข้มของแสงที่ลดลงก็เป็นได้

วัฏจักรของฝุ่นละอองในธรรมชาติ

ปัจจุบันวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (Particle Matter Smaller Than 2.5 Micron; PM2.5) ยังถือว่าเป็นสถานการณ์ที่มีความอันตรายอย่างต่อเนื่องสำหรับประเทศไทย

ซึ่งฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมถึง 25 เท่านั้น สามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศและฟุ้งกระจายได้เป็นวงกว้าง โดยแหล่งกำเนิดหลักๆมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงจากยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้ชีวมวล การเผาขยะ หรือแม้กระทั้งการเผาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อเตรียมสำหรับการเพาะปลูก เป็นต้น

กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ปลดปล่อยฝุ่นละอองออกสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับวัฏจักรของฝุ่นละอองที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศสามารถเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดได้จากการพัดพาของกระแสลม โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจะสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลจากแหล่งกำเนิดเนื่องจากมีน้ำหนักเบา ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศสามารถตกลงสู่พื้นผิวโลกและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ 2 วิธี คือ แรงโน้มถ่วงของโลกและการถูกชะล้างด้วยฝน

ภัยธรรมชาติ

ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชน เมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง แน่นหน้าอก หายใจถี่ หอบหืด มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและทำลายเนื้อเยื่อปอด หรือหากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานานจะสามารถอาจ ส่งผลให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับเศรษฐกิจ

ผศ.ดร.ขนิษฐาอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อกันให้ฟังว่า จริง ๆ แล้วสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานสำคัญในการที่เราจะมีเศรษฐกิจที่ดี ยกตัวอย่าง เช่น เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเยอะ

ซึ่งปัจจัยสำคัญมาก ๆ ที่ดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาก็คือ ทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติของเรา ทั้งภูเขา ทะเล น้ำตก ถ้าเกิดว่าสิ่งแวดล้อมมันเสียไป นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ก็จะไม่มาเที่ยวไทย เพราะคงไม่มีใครอยากมาเที่ยวทะเลที่เน่า ภูเขาที่ไม่มีต้นไม้ ยิ่งถ้ามาแล้วเจอฝุ่น นักท่องเที่ยวก็ยิ่งจะไม่อยากมา

มากไปกว่านั้น ผศ.ดร.ขนิษฐาบอกว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีก็เป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจ

“จริง ๆ แล้วเราพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะว่าเศรษฐกิจทำให้เรากินดีอยู่ดี ถูกไหม ซึ่งส่วนหนึ่งของการที่คนเราจะมีชีวิตที่ดีก็คือมีสภาพแวดล้อมที่ดี ถ้าเราพัฒนาเศรษฐกิจมีเงินเยอะ แต่สิ่งแวดล้อมแย่ ก็ไม่มีใครอยากได้ชีวิตที่ไม่ดี ฉะนั้น สิ่งแวดล้อมมันสำคัญต่อเศรษฐกิจ และขณะเดียวกันมันก็สำคัญต่อวัตถุประสงค์ที่เราต้องการให้เศรษฐกิจทำให้เรา นั่นก็คือความอยู่ดีกินดีของประชาชน”

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก bangkokbiznews

APPLE ประหยัดเงินมากถึง 6.5 พันล้านดอลลาร์ จากการไม่แถมที่ชาร์จและหูฟังมาให้ในกล่อง IPHONE

Previous article

ประเภทของพลังงานในปี 2022

Next article

You may also like

More in Life