Covid-19 ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ขึ้นทั่วโลก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ลดต่ำลงอย่างมาก แต่นี่เป็นเพียงผลกระทบระยะสั้นหรือจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
โควิด-19 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา มีการล็อกดาวน์เกิดขึ้นทั่วโลก ผู้คนขับขี่ลดลง มีการระงับเที่ยวบินจำนวนมาก และอุตสาหกรรมต้องปิดตัวลง
คุณอาจเห็นถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับคุณภาพอากาศในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดบางแห่ง แต่สิ่งที่คุณมองไม่เห็นอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การปล่อย CO2 ลดต่ำลง เพราะการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปริมาณ CO2 ที่ลดน้อยลงในรอบนี้ลดลงมากกว่าที่เคยเกิดในช่วงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาในอดีตรวมถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟังดูเหมือนจะเป็นข่าวดีสำหรับสภาพภูมิอากาศของเรา แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น
- พลาสติก: นักวิทยาศาสตร์คิดค้นวิธีการนำ CO2 ไปใช้ผลิตสิ่งของต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ
- โลกร้อน: 5 เหตุผลที่ปี 2021 อาจเป็นจุดเปลี่ยนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนขยะคาร์บอนเป็น “กราฟีน” วัสดุล้ำค่าแห่งอนาคต
ถ้าลองเปรียบการปล่อยคาร์บอนว่าเป็นการเปิดน้ำจากก๊อกลงอ่างอาบน้ำ ปีนี้ ก๊อกน้ำเปิดไม่ได้เต็มที่ น้ำ หรือว่า CO2 ไหลช้าลง แต่ก็ยังทำให้น้ำเต็มอ่างได้อยู่ดี
ความจริง ในช่วงที่มีการล็อกดาวน์มากที่สุดการกระจุกตัวของ CO2 ในชั้นบรรยากาศ เพิ่มขึ้นไปถึงระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษย์
พืชและน้ำทะเลช่วยดูดซับ CO2 ไว้ แต่ต้องใช้เวลา เพราะ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมาในปัจจุบัน จะยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นเวลาหลายร้อยปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดการปล่อย CO2 ลงในระยะยาว เพื่อแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศให้เกิดผลจริง
เราได้เห็นแล้วว่า ช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาเปิดตัวอีกครั้ง แนวโน้มการปล่อย CO2 ก็กลับมาเพิ่มขึ้นด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน อุตสาหกรรม และการเดินทางในช่วงโควิด จำเป็นต้องเป็นไปอย่างถาวร เพื่อที่จะทำให้การปล่อย CO2 ลดลงอีกครั้ง เพราะแม้แต่ในช่วงที่โลกให้ความสนใจกับเรื่องไวรัสโคโรนาอยู่นั้น ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่ข้อที่กังวลและอาจจะกลายเป็นปัญหาในอนาคต ก็คือการใช้ พลาสติก หรือหน้ากากอนามัย ในทุกวัน เพิ่มปริมาณในการใช้อย่างมหาศาล เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสจนอาจทำให้เกิดเป็นมลพิษพลาสติกได้
Covid-19 การระบาดของมลพิษพลาสติก
การระบาดของ Covid-19 มีส่วนทำให้การระบาดของมลพิษพลาสติก พลาสติกเข้ามาตอบสนอง และอำนวยความสะดวกในช่วงล็อกดาวน์รวมถึงช่วงที่จำกัดการเดินทางไปในพื้นที่ชุมชน เกิด “นิวนอร์มอล” ที่คนนิยมสั่งอาหารมาทานที่บ้านและซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ในประเทศไทย ขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในปี 2563 ที่ผ่านมาสูงขึ้นอย่างน้อย 15%
รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุ นับตั้งแต่การระบาดของ Covid-19 ธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกทั่วโลกลดลง 20% ในยุโรป 50% ในบางส่วนของเอเชีย และมากเป็น 60% ในสหรัฐอเมริกาอันเนื่องมาจากสงครามราคา ระหว่างพลาสติกรีไซเคิลและการผลิตพลาสติกใหม่ ที่ทำให้ถูกลงโดยอุตสาหกรรมน้ำมัน จริงๆ แล้ว นับตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1950 มีขยะพลาสติกราว 6,300 ล้านตันเกิดขึ้น โดยที่ 91% ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
การนำภาชนะมาใช้ซ้ำเป็นทางออกที่ถูกละเลย แม้แต่ร้านเครื่องดื่มรายใหญ่หลายแห่ง อย่างคาเฟ่อเมซอน สตาร์บัค ยังปฏิเสธรับแก้วหรือภาชนะส่วนตัวจากผู้ซื้อในบางช่วง แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพยืนยันหนักแน่นว่า ภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้ซ้ำสามารถใช้งานได้อย่าง ปลอดภัยหากใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือน
มลพิษพลาสติกเปิดเผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของนโยบายการจัดการขยะในภาพรวม ทั้งเป้าหมายการลดขยะที่แหล่งกำเนิด ระบบแยกขยะ การรวมรวมจัดเก็บ การรีไซเคิล ฯลฯ รวมถึงความไม่เป็นธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นต่อชุมชนรอบพื้นที่ฝังกลบขยะหรือโรงเผาขยะ และชุมชนที่ต้องเผชิญและแบกรับกับผลกระทบจากมลพิษพลาสติก ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม การผลิตหรือเจ้าของแบรนด์ยังคงผลักภาระต้นทุนการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ของตนเอง
การศึกษาโดย OceansAsia คาดว่า ในจำนวนหน้ากากอนามัย 52,000 ล้านชิ้นที่ผลิตออกมาทั่วโลกในปี 2563 จะมีอยู่ราว 1,560 ล้านชิ้น ถูกทิ้งและหลุดรอดสู่ทะเลและมหาสมุทรในปี 2563 กลายเป็นมลพิษพลาสติกเพิ่มขึ้น 4,680 ถึง 6,240 ตัน
การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) รวมถึงหน้ากากอนามัยและถุงมือนั้นมีความจำเป็นเพื่อหยุด การระบาด ของ COVID-19 และควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับบุคลากรและผู้ปฏิบัติงาน ทางการแพทย์/และปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการกำจัด PPE อย่างปลอดภัยเพื่อประโยชน์ สูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน คนทั่วไปสามารถใช้หน้ากากหรือถุงมือที่ใช้ซ้ำและทำความสะอาดได้ เพื่อลดรอยเท้ามลพิษพลาสติกลง
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก actionforclimate