BitesizeTOP STORIESWhat' New

PTG จับมือ SCGP ตั้งจุดรับขยะไปรีไซเคิล

0

PTG ร่วมกับ SCGP ตั้งจุดรับกล่อง-ลังกระดาษและพลาสติก ภายในสถานีบริการน้ำมัน PT พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อรีไซเคิลนำกลับใช้ประโยชน์ใหม่ ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดวิกฤตขยะล้นเมืองอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันกล่อง ลังกระดาษ รวมทั้งขวดพลาสติกที่มีปริมาณมากขึ้น อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้แล้วทิ้งของผู้บริโภค ตลอดจนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ภาครัฐได้ออกมาตรการล็อกดาวน์หลายพื้นที่  ทำให้เกิดการใช้วิถีชีวิตแบบใหม่ให้ห่างไกลจากการสุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อโควิด-19  ส่งผลให้เกิดปริมาณขยะกระดาษและพลาสติกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะและสานต่อเจตนารมณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ร่วมกับ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG จึงร่วมกันรณรงค์คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ภายใต้โครงการ “SCGP x PTG ตู้รับกระดาษและขวดน้ำพลาสติกรีไซเคิล” นำขยะกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากร  เริ่มตั้งแต่การวางแผนและออกแบบ การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการรีไซเคิลและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและเป็นระบบ ด้วยการติดตั้งจุดบริการรับฝากขยะ (SCGP reXycle Drop Point) ภายในสถานีบริการน้ำมัน PT ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 5 สาขา เพื่อรับกล่องและลังกระดาษ รวมทั้งขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว โดยจะเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

สุวัชชัย พิทักษ์วงศาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอลิมปัส ออยล์ จำกัด บริษัทในกลุ่มของบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด  (มหาชน) หรือ PTG เปิดเผยว่า ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจ LPG ภายใต้แบรนด์ PT ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์ซ่อมบำรุง และพลังงานทดแทน  บริษัทฯ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างจุดรับขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะของประชาชน ลดปริมาณขยะล้นเมือง เพิ่มอัตราการรีไซเคิลของกระดาษรวมทั้งขวดน้ำพลาสติก และสร้างสังคม  รีไซเคิลอย่างเป็นรูปธรรมภายในประเทศให้ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น
         

สำหรับประชาชนทั่วไป ที่ต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะและร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถนำขยะจากบรรจุภัณฑ์ต่างๆเพื่อกลับสู่ระบบรีไซเคิล มาฝากทิ้งที่จุดบริการรับฝากขยะ (SCGP reXycle Drop Point) ภายในสถานีบริการน้ำมัน PT พื้นที่นำร่อง 5 สาขา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย  สาขา ถ.กาญจนาภิเษก กม.18 สาขาหนองแขม (ถนนเพชรเกษม 81) สาขา ถ.จันทน์1 (ซ.40) สาขาคลองหลวง 4 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และสาขาประตูน้ำพระอินทร์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งในอนาคตจะขยายการตั้งจุดบริการรับฝากขยะ ภายในสถานีบริการน้ำมัน PT อื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป 
         

“บริษัท โอลิมปัส ออยล์ จำกัด ขอเชิญประชาชนและลูกค้าทุกท่าน ร่วมให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและปลอดภัยตั้งแต่ต้นทาง ก่อนเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นขยะ  โดยบริษัทฯ พร้อมเดินหน้าลดปัญหาขยะจากการบริโภคอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกอันเกิดจากขั้นตอนการกำจัดขยะที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน และนับเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มผลักดันการจัดการขยะและขับเคลื่อนการรีไซเคิลให้เป็นวาระแห่งชาติอย่างจริงจัง  เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่และความอยู่ดี มีสุขของประชาชน” สุวัชชัย กล่าว

 ขณะที่ กุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า “SCGP มีความยินดีและขอขอบคุณ PTG ที่ได้ร่วมมือกันเป็นพันธมิตรส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสะดวก ด้วยการคัดแยกขยะและส่งให้ที่ SCGP reXycle Drop Point ในสถานีบริการน้ำมัน PT ใกล้บ้าน เพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่และยังสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย เช่น เศษกระดาษสามารถรีไซเคิลและออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์กระดาษที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง ขวดพลาสติก PET ก็สามารถรีไซเคิลเป็นใยสังเคราะห์สำหรับผลิตเสื้อผ้าได้ เป็นต้น ซึ่งการส่งเสริมพฤติกรรมจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางนี้จะช่วยให้ทรัพยากรได้หมุนเวียนใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะปนเปื้อนที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ทำให้ต้องกำจัดด้วยการเผาหรือฝังกลบ มีส่วนเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือระหว่างกันในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยสังคมและผู้บริโภคให้ร่วมดูแลโลกได้อย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัว”

ไทยยูเนี่ยนจับมือวีฟู้ดส์ ขยายธุรกิจอาหารทางเลือกจากพืช

Previous article

ไทยยูเนี่ยนขยายโอกาสสู่ไบโอเทค ลงทุนใน ViAqua บริษัทสัญชาติอิสราเอลที่พัฒนาการจัดการโรคในสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยีระดับอาร์เอ็นเอ

Next article

You may also like

More in Bitesize